กระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรบนพื้นที่สูง
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่, พระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก, ปัญหาความยากจน, ราษฎรบนพื้นที่สูงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนของราษฎรบนพื้นที่สูง 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาแนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวพระราชดำริเป็นกรอบการวิจัย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยมี 2 ชนิด 1) แบบสำรวจเชิงพื้นที่ 2) แบบสัมภาษณเชิงลึก นำมาวิเคราะห์ข้อมูลและบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
- บริบทชุมชนของราษฎรบนพื้นที่สูงมีต้นทุนทางภูมิสังคมที่หลากหลาย จากข้อมูลพื้นฐานด้านหนี้สิน รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา พบว่าปัญหาความยากจนยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม รายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีหนี้สินสะสม ตามความเจริญทางวัตถุและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านปัจจัยสี่ที่มากขึ้นจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- กระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก มี 4 ด้านตามแนวพระราชดำริ 1) การป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก 2) การพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ 3) ทฤษฎีใหม่ 4) การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร ประกอบกับพันธกิจของพระสงฆ์ที่เสริมความเข้มแข็งชุมชน ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยหลักภาวนา 4 คือ 1) ทางกาย ด้วยหลักสุขภาวะ 5 อ คือ อาหาร อุจจาระ อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ 2) ทางใจ มีการสาธยายธรรมในวันพระและวันสำคัญของชุมชน 3) ทางสังคม มีกิจกรรมที่เกื้อกูลกันในชุมชนด้วยหลักสารณียธรรม 4) ทางปัญญา มีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาให้เข้าใจหลักอริยสัจ 4
กระบวนการนี้วิจัยนี้สามารถยกระดับไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมสัมมาอาชีพสร้างรายได้ให้ราษฎรบนพื้นที่สูงและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อีกระดับหนึ่ง
References
Commissioner's Office 1, Report on progress of the committee to drive the continuation of the royal science, (2017). Office of the Secretariat of the House of Representatives. Perform duties at the Secretariat of the National Reform Steering Assembly.
Narongrit Thungpruesomkiat Saithanu, Thaweesak Putsukkee and Natthaphan Khecharanan, (2023). Community enterprise development model for upgrading the grassroots economy. In the Satun Global Geopark area, in the MCU Buddhapanya Review Journal, Year 8, Issue 5.
NRCT, (2021). Ethnic groups in Thailand: Research and challenges
Phra Arunmethi Phutthipattranon, (2014-2015). Factors affecting the development of communities in the highlands of the Phra Dhammajarik project in the northern region, in the Far Eastern University Academic Journal, Vol. 8 Issue 2, December May.
Phra Udom Bundit (Somsak Sudthiyanamethee), (2022). Model and network of proactive propagation of Buddhism, in MCU Journal of Social Development, Year 7, Issue 2, May - August.
Somdet Phra Phutthakosajarn (P.A. Payutto), (2018). Buddhist Dictionary, Compiled Edition, 31st edition, Bangkok: P.A.T.,.
Source. https://www.tpmap.in.th/2565/5025. [29 Oct. 2023]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.