ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม LGBT ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กลุ่มหลากหลายทางเพศ, การเมือง; , ขบวนการเคลื่อนไหว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม LGBT ในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาบทบาทและวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม LGBT ในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) นำเสนอผลสะท้อนการเคลื่อนไหวทางสังคมของขบวนกลุ่ม LGBT ในจังหวัดนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 15 คน มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ข้อมูล โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความ

  ผลการวิจัยพบว่า 1) ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม LGBT ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ การเคลื่อนไหวร้องทุกข์หรือเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแก้ไขปัญหา ตรวจสอบกระบวนการใช้อำนาจรัฐ การประท้วงอำนาจรัฐและสร้างพลังอำนาจของผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติ และการร่วมมือเชิงวิพากษ์กับรัฐและผูกพันในทางสร้างสรรค์ในกระบวนการใช้อำนาจของประชาสังคม 2) บทบาทและวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยติดตามข่าวทางการเมือง การร่วมรณรงค์เลือกตั้ง การชุมนุมทางการเมือง การตัดสินใจทางการเมือง ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 3) ผลสะท้อน การรวมตัวกันในนามเครือข่ายผู้มีความหลากหลายทางเพศในช่วงแรกของการเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ในสังคมไทย และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ร่วมภายใต้บริบทความขัดแย้งและการแบ่งขั้วทางการเมือง ถูกสร้างขึ้นมาผ่านกระบวนการทางสังคมที่เป็นไปในแนวทางของแนวคิดเชิงประกอบสร้างทางสังคมที่นำเอาความเป็นตัวตนของเพศชายและเพศหญิงที่มีในแต่ละส่วนมาผสมผสานกันเพื่อสร้างความเป็นตัวตนใหม่ของ LGBT ขึ้นมา

References

Achawanitkul, K. (2011). Sexuality Transition in Thai Society. Journal of Population and Social Studies. 15(1) (January), 43-66.

Duangwiset, N. (2022). Socialism and Social Equality and Gay Rights. Retrieved on 18th April 2022. http://www.sac.or.th/main/uploads/article/ Socialism.pdf.

Easton, D. (2007). The Politic System: An Inquiry to the State of Political Science. Calcutta India: Scientific Book.

Kanthiranon, T. (2022). LGBTQ: A Group of Sexual Diversity. Retrieved on 18th April 2022. http://juneyeetinkkw2.blogspot.com.

Leamkong, W. (2020). Impact of LGBT Movement in Thailand. Master thesis, M.Pol.Sc. , Chulalongkorn University. Bangkok.

Leewasuthon, R. LQBTQ Group. Retrieved on 18th April 2022. https://www.l3nr.org/posts/924

Pansuwan, C. and Samukkethum, S. (2019). Analyzing Thai Student Movements in the Period

of Political Turmoil 2006-2014. Journal of Social Development. 21(2), 216 – 234.

Pearkao, P. (2019). Happiness among Thai Kathoey, Gay. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division. 31(1), 142-149.

Redekop, J. (2003). Approaches to Canadian Politics. 2nd ed. Ontario : Prentice Hall.

Supap, J. (2001). Principles of Political Science. Bangkok: Thai Wattanapanich.

Ungpakorn, G. and other. (2020). Social Movement in Thailand. Bangkok: Worker’s Democracy.

Wijitwatchararak, K., Panyaruno, A. (Phramaha), and Santirungroj, S. (2019). Social Movement of a Group of Sexual Diversity in Thailand. Journal of MCU Nakhondhat. 6 (8) (October),

-3772.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย