แนวทางการพัฒนาการจัดการนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม
  • ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

นาแปลงใหญ่, เกษตรกร, ข้าว, สุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) จำแนกระดับขั้นการพัฒนาการจัดการนาแปลงใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ประเมินความจำเป็นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่เหมาะสม ผู้วิจัยใช้แนวคิด ทฤษฎี และเป้าประสงค์ของนโยบายนาแปลงใหญ่มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้จัดการนาแปลงใหญ่ และประธานนาแปลงใหญ่จำนวน 40 คน และการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า 1) สามารถจำแนกระดับขั้นการพัฒนาการจัดการนาแปลงใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรีได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับ A  มีการดำเนินการตามเป้าหมายและกรอบการดำเนินงานของนาใหญ่ ได้แก่ การรวมกลุ่ม การลดต้นทุน การเพิ่มผลลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การบริหารจัดการร่วมกันทั้งการวางแผนการผลิต การตลาด การซื้อปัจจัยการผลผลิต การใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกัน ขณะที่ระดับ B มีการดำเนินงานไปแล้วในเรื่องการรวมกลุ่ม การลดต้นทุน และเพิ่มผลิต การซื้อปัจจัยการผลผลิต การใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกัน แต่ทั้ง 2 ระดับ พบปัญหาที่เหมือนกันคือ ด้านการตลาด ด้านการจำหน่ายผลผลิต ด้านการแปรรูป และเพิ่มมูลค่าผลิต 2) ความจำเป็นในการพัฒนาการจัดการนาแปลงใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี คือ การพัฒนาด้านการรวมกลุ่ม การพัฒนาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่และน้ำ การพัฒนาการลดต้นทุน การพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นไปตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพิ่มมากขึ้น การพัฒนาด้านการตลาดทั้งการรับซื้อผลผลิตและช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาแปลงใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรี

References

Department of Agriculture Extension. (2015). Manual for the Administration of large-scale Agriculture. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited.

Department of Agriculture Extension. (2016). Large Agricultural extension System. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited.

Department of Agriculture Extension. (2020). Farmer's Guide to Collectivization. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited.

Land Development Department. (2021). Agri-Map: Suphan Buri. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Pongsrihadulchai, A. (2015). Administration of large scale of Agriculture. Udonthani: Office of Agricultural Economics.

Polbut, A. (2023). "Alongkorn" is pleased with the export of Thai rice for 4 months, rising to 3.05 million tons, pushing up domestic rice prices. Retrieved January 2023, https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/68189 (in Thai)

Pramotepanyawat, P. (2021). The Principles of The Six States of Conciliation and The Management of The Temple Administration. Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi Vol 3, no. 1, pp. 79 – 86.

Rujichok, K. (2022). Knowledge Management System Development Plan to Send Rice PlanningPolicyfrom Thai Government to Farmers for Increasing Quality Products and Farmers Development Sustainability. Journal of MCU Buddhapanya Review Vol 7, no. 3, pp. 231 - 242.

Vijittamrongsak, V. (2022). A Study of Multilevel Causal Factors affecting Collaborative Learning for Developing the Learning Experience Plan of Project Work Integrated Collaborative Learning among High School Students of World - Class Standard School Participating in the World Morality Revival Project (V-STAR). Doctoral Dissertation, Srinakharinwirot University.

Wongwirat, K., (2009). A study of the management model of the professional group of farmers growing non-toxic vegetables at Ban Cham, Village No. 6, Subdistrict.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย