แนวทางการจัดการเรียนรวมด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตร : ห้องเรียนเสมอภาค เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองเข้มแข็ง สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
การเรียนรวม, ห้องเรียนเสมอภาค, พลเมืองเข้มแข็งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของห้องเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีเด็กพิเศษเรียนรวม 2) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อสร้างความเสมอภาคในห้องเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาแนวคิดการจัดการเรียนรวมและการจัดการชั้นเรียนเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการรายงานข้อมูลสถิติผู้พิการ และวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และเกณฑ์การประเมินสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
การศึกษาสถาพปัญหาห้องเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีเด็กพิเศษเรียนรวม พบว่า 1. โรงเรียนขาดการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมให้กับครูผู้สอนและผู้เรียนในกลุ่มปกติ เมื่อจำเป็นต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้พิการหรือผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่วนการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกับผู้พิการหรือผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พบว่า ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในประเด็นนี้มากนัก ผู้วิจัยจึงได้พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรห้องเรียนเสมอภาคเพื่อทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย และสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้น พบว่า การมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกลุ่มปกติและนักเรียนพิการหรือมีความต้องการจำเป็นพิเศษมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น และได้ออกแบบ “EMPATHY MODEL” เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรห้องเรียนเสมอภาคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
Chuchai, S. (2007). Personnel recruitment, selection, and performance evaluation (2nd ed.). Chulalongkorn University Press.
Kounin, J. (1977). The Kounin model of wittiness & organization. Retrieved September 3, 2023, from https://olameegdcequared.blogspot.com/2013/01/group-management-kounin.html
Manop, K. (2007). Qualitative research methodology in community health systems (1st ed.). The Network for Academic Development and Substance Abuse Information, Khon Kaen University.
Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum for the Buddhist era of 2008. Ministry of Education, Commission on Educational Reform.
Natthanan, E., & Sukanya, S. (2022). The role of teachers in fostering inclusive classrooms. Retrieved from https://iamkru.com/2022/06/24/articleslgbtq/
Nawarat, R., & Bannak, R. (2016). Thai education 4.0 within the context of sustainable development. Retrieved from http://www.moe.go.th/websm/2016/aug/354.html
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). Twelfth edition of the national economic and social development plan (2017–2021). Retrieved January 17, 2023, from http://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf
Phadung, A., & Wasana, L. (2008). Integrated learning. J.N.T. Limited Partnership.
UNESCO. (2016). Inclusive education: The way of the future. Retrieved January 18, 2023, from http://unesdoc.unesco.org/images/0024/002482/248254e.pdf
UNESCO. (2019). Education for sustainable development goals: Learning objectives. UNESCO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.