การวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในศิลาจารึก ทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี

ผู้แต่ง

  • พระมหานรพล แสงเดช -Mahachulalongkornrajavitayalai University
  • สว่างจิต ขันตี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ https://orcid.org/0000-0002-4410-4966

คำสำคัญ:

ทวารวดี, พระพุทธศาสนา, ศิลาจารึก, หลักธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาประวัติความเป็นมาศิลาจารึกทางพระพุทธศาสนา 2)ศึกษาคุณค่าของศิลาจารึกทางพระพุทธศาสนา และ 3)วิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในศิลาจารึกพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูล โดยพรรณนาเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ศิลาจารึกทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่มักใช้อักษรปัลลวะภาษาบาลีในการจารึก มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 พบได้ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ นิยมจารึกไว้บนแท่งศิลาและฐานธรรมจักรมีกวางหมอบประดับทั้งสองข้างเป็นสัญลักษณ์การแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นอกจากนี้ คุณค่าศิลาจารึกทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี ยังมีความสำคัญต่อสังคมไทยในหลายด้าน เช่น การได้รับรู้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจของชนชาติไทยรวมไปถึงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่แสดงถึงเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประวัติความเป็นมาเป็นต้น แถมยังช่วยส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกด้วย ส่วนหลักธรรมที่ปรากฏในศิลาจารึกทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีเน้นที่คาถาเย ธัมมาฯ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาที่อธิบายถึงหลักธรรมอันเป็นเหตุและผลช่วยให้คนเข้าใจตนเองและนำไปปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาเพื่อให้ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต ดังนั้น คนทวารวดีโบราณจึงนิยมใช้ในการจารึก

References

Anuman Rajadhon, P. (1974). Culture and Various Tradition of Thailand. Bangkok: Bannakarn.

Eaosriwong, N., & Pattiya, A. (1982). Historical evidence in Thailand. Bangkok: Bannakit.

Kaewglai, Ch. (2013). Inscriptions Database in Thailand: Inscription-type ancient documents. Retrieved February 6, 2013, from https://db.sac.or.th/inscriptions/ story/detail/ 119 60.

Makjaeng, S. (1992). Pali-Sanskrit in the Thai Language. Bangkok: Odianstore.

Padoocheewit, J. (2007). Culture, Communication, and Identity. Bangkok: Active Print.

Phiromanukul, R. (2011). Inscribe principles, not for propagation, but for holiness. Ramkham Haeng Journal of Human Sciences, 30(1), 38-58.

Prapatthong, K. (1977). Preliminary Antique Document Research. Bangkok: Bangkok Library national Department of Silapakorn.

Somdej Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2019). Buddha-Dharma (Extended Edition) (22nd ed.). Bangkok: Southeast Asia University.

Vajirapanno, P. D. (2021). A Spreading of Ye Dhamma Stanza from Jambudipa to Suvanna bhumi. Journal of Graduate MCU Khonkaen Campus, 8(1), 50-60.

Weeranuwat, P. S., Wiboonjetiyanurak, P., Namuang, P. N., Netphra, P. S., & Phetchawong, A. (2020). An Analytical Study of U-Thong City as a History of Mission. Sukhothai Journal Dharmathiraj, 33(1), 106-122.

Yodkaew, Y. (2012). The Concept of Value in Buddhism. Retrieved May 5, 2012, from https:// www.gotoknow.org/posts/402616.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย