การปรับเปลี่ยนความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูตามแนวคิดทฤษฏีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

ผู้แต่ง

  • กัลยาภัสร์ จารุปรีดีพัทธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ทัศตริน วรรณเกตุศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยน, ความเชื่อ, การสอนวิทยาศาสตร์, ทฤษฏีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาผลจากกิจกรรมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ความเชื่อเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 3 การศึกษาผลการปรับเปลี่ยนความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้และความไม่รู้วิทยาศาสตร์อันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและความปลอดภัยในชีวิต พบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักจะมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสอบแข่งขันมากกว่าการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนวิทยาศาสตร์ควรเริ่มจากการที่นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ การสร้างแรงบันดาลใจ, การจัดประสบการณ์, การช่วยและการแบ่งปัน, การรู้เป้าหมายและการสนับสนุน, การส่งเสริมและการสร้างโอกาส, การสะท้อนและตัดสินใจ 3) ผลการใช้กระบวนการ พบว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ภาพรวม ก่อนอบรม อยู่ในระดับมาก  หลังอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ พบว่า กระบวนการเรียนรู้ผลต่างหลังอบรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนอบรมทุกรายการ การสังเกตแนวความคิดในการจัดกิจกรรม พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ได้มีการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้ในการวางบทบาทของตนเองในการเป็นครูวิทยาศาสตร์ และนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินความพึงพอใจหลักสูตรการฝึกอบรมการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

จินตนา คำสอนจิก. (2553). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยใช้อนิเมชั่นเพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุฬาลักษณ์ ยิ้มดี. (2014). “ผลของการเรียนการสอนโดยใช้ขั้นการเรียนรู้แบบอนุมานเบื้องต้นที่มีต่อ ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย.” วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา9(4), 309-323. นันทวุฒิ นิยมวงษ์. (2558). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ระดับอุดมศึกษา. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทวัน พัวพัน. (2564).ผลการใช้แบบแผนให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนและการทำวิจัย ในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มสธ.,14(1), 45-59. มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การ เปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

รัชฎา ศิลมั่น. (2552). การประยุกต์ใช้กิจกรรมแบบ 5E เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง) จังหวัดปทุมธานี. ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระพีพรรณ พงษ์ปลื้ม และนวลศรี ชำนาญกิจ. (2557). การพัฒนาชุดการสอนทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการเครือข่าย บัณฑิตศึกษามาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(7), 11–24.

ราวรรณ แสงอยู่. (2014). ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้ค าถามตามแนวคิดของ

ออสบอร์นที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

สิรินรดา สุภักดีและพจนีย์ เสงี่ยมจิตต์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 9(2): 142-163.

Di Biase. (2000). “Effective Instructional Leadership: Teacher’ Perspectives on How

Principal Promote Teaching and Learning in School,” (CD-ROM) Available:

ERIC Database. Item: EJ 606422.2000.

Magnusson et al. (1999). Nature, sources and development of pedagogical content knowledge. In J. Gess-Newsome & L. N.G (Eds.), Examing pedagogical content knowledge (pp. 95-132). Dordrecht: Kluwer Academic publishers.

Mezirow. (1991). Transformative Dimensions of Adult Learning. San Francisco: Jossey- Bass.

Nurcan cansiz & Mustafa cansiz. (2016). Teaching science in inclusive classrooms: Preservice science teachers’ knowledge and views about inclusive education. Paper presented in National Association for Research in Science Teaching (NARST).

Pernilla Nilsson and Loughran. (2011). Understanding and assessing primary science student teachers’ pedagogical content knowledge. Journal of Science Teacher Education. doi:10.1007/s10972-011-9239-y.

Shulman. (1987). Knowledge and Teaching: Foundations of the New Reform. Harvard Educational Review, 57, 1-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย