การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูอาจารย์โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก
คำสำคัญ:
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้, สมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูอาจารย์โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูอาจารย์โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพ และการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูอาจารย์โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูอาจารย์โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบกประกอบไปด้วย 2 สมรรถนะ 9 องค์ประกอบ 65 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) สมรรถนะหลัก (Core competency) มี 4 องค์ประกอบ 28 ตัวบ่งชี้ 2) สมรรถนะด้านหน้าที่ (Functional competency) มี 4 องค์ประกอบ 37 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูอาจารย์โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบกมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและองค์ประกอบและตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกัน
References
Liston W. Bailay. (2012). Training and Developing Amy Instructors Using the IBSTPI Competency Framework. U.S. Army Institute. Retrieved August 13, 2022, from https://media defense.gov/2018/Jul/10/2001940584/-1/-1/1/TR600-21.PDF
William R.Bickley. (2011). Army Instructors to Army Facilitators-Practical Consideration. U.S. Army Research Institute. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/
_Army_Instructors_to_Army_Facilitators -_Practical_Considerations
Royal Thai Army. (2015). Army Command Note No.49/2015 Education Policies of Royal Thai Army 2016-2021 announced on 18 October 2015.
Mekmanee, P. (2019). Competencies Development of Military Teachers of Army Services Corps Schools Under the Concept of Army’s Personnel Capacity Strengthening. CRMA Journal of Humanities and Social Sciences,1(6), 200-231.
Chalermwat, M. (2017). Chulachomklao Royal Military Acdemy’ s Education Management to Help Improve Cadets’ English Skills. Retrieved August 13, 2022, from http://www.awc.ac.th/awcdata/research/117.pdf
Onwimon, S. (2012). The Use of English and Other Regional Languages for the Future of Thailand in ASEAN. Retrieved January 13, 2022, from http://www.dla.go.th/upload/ ebook/column/2013/5/2060_5264.pdf
Office of the Education Council. (2013). Development of the Thai Basic Education Curriculum Bangkok: Mininstry of Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.