เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่มีผลต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์

ผู้แต่ง

  • มานิตย์ พรหมการีย์กุล -
  • สืบพงศ์ สุขสม

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก, การจ้างงาน, อุตสาหกรรมยานยนต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) ศึกษาผลกระทบด้านแรงงานจากการเปลี่ยนแปลงการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก1) ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นคนไทย 4 คน 2) ผู้บริหารบริษัทยานยนต์ 4 คน 3) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ 4 คน และ 4) นักวิชาการเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ 3 คน จำนวนรวม 15 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. การนำอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไปสู่เป้าหมาย ความสามารถทางนวัตกรรมจะเป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าและยังรวมถึงความพึงพอใจของลูกค้า นวัตกรรมของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ต้องใช้ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการมาปรับปรุงระบบโครงสร้างให้มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ความเชี่ยวชาญและทักษะความชำนาญของบุคคลเมื่อนำความคิดใหม่ๆ นั้นมาสู่การปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรให้กับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดประโยชน์ต่อชีวิตสังคมและเศรษฐกิจ กระบวนการหรือบริการต้องมีลักษณะของความผันแปรให้เกิดความทันสมัยในตัวเองอย่างไม่หยุดนิ่ง
2. การปรับเปลี่ยนการใช้นโยบายส่งผลให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง ทุนมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความได้เปรียบและถือเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
3. การมีนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือห่วงโซ่แห่งคุณค่า
มีความสามารถในการแข่งขัน ต้องค้นหาวิธีการทำงานที่ได้ผลดีที่สุดและกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงาน การสร้างความสามารถในการแข่งขันต้องมีการลงทุนสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง มีการรวมกลุ่มทางธุรกิจเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งมากขึ้น มีความพร้อมต่อการเปิดเสรีทางการค้า การบริการและการลงทุนของประชาคมอาเซียน มีการส่งเสริม นวัตกรรม เทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้า โดยจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น

References

ชิติพัทธ์ วรารัตน์นิธิกุล. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ในประเทศไทย. Suthiparithat. Journal of Business and Innovation: SJBI, 32(104), 183-199.

นริญญา โภคานฤมิต และสืบพงศ์ สุขสม. (2565). นโยบายการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดปราจีนบุรี. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(2), 148-163.

บุญญาดา นาสมบูรณ์. (2563). อิทธิพลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการสไตล์ญี่ปุ่นส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. Journal of Business Administration and Languages (JBAL), 8(2), 73-82.

พรประภา ศรีราพร. (2561). การจ้างงานผู้สูงอายุที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 10(1), 77-85.

ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์, & ทองแท่ง ทองลิ่ม. (2020). A สภาวะแวดล้อมมหภาคของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย 4.0. Thai Science and Technology Journal, 1490-1500.

วรินภร อุ่นที. (2560). สภาพปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือของผู้ ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ขนาดเล็ก= Skilled labor shortage in automotive small business.

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์. (2556). สถิติยานยนต์ไทย. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2556, จาก http://data.thaiauto.or.th.

Krzywdzinski, M. (2017). Automation, skill requirements and labour‐use strategies: high‐wage and low‐wage approaches to high‐tech manufacturing in the automotive industry. New Technology, Work and Employment, 32(3), 247-267.

M Report. (2563). มุมมองอนาคตอุตสาหกรรมการผลิต. ออนไลน์ : แหล่งที่มา https://www. mreport.co.th/experts/business-and-management/101.

Mayhew, E., Poste, G., Cowden, M., Tolson, N., & Maslow, D. (1974). Cellular binding of 3H‐cytochalasin B. Journal of Cellular Physiology, 84(3), 373-382.

Slowik, P., & Lutsey, N. (2018). The continued transition to electric vehicles in US cities. White paper. The International Council of Clean Transportation (ICCT).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

พรหมการีย์กุล ม. ., & สุขสม ส. (2024). เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่มีผลต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(6), 209–219. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269497

ฉบับ

บท

บทความวิจัย