แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนด้านการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้ระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่
คำสำคัญ:
แนวทางความร่วมมือ;, การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์;, การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้ระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 19 คน และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 13 คน จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์และการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
ผลการศึกษาพบว่า ภาครัฐได้ระบบการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่เหมาะสม สามารถตรวจสอบภัยคุกคามไซเบอร์ได้รวดเร็วโดยการใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ภาคเอกชน
ได้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาบริหารจัดการ ทำให้งานเกิดประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ ยกระดับความพร้อมในการรับมือกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้ระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้ AI (Artificial Intelligence) ในการบริหารจัดการข้อมูล ตัดข้อกังวลเรื่องการรักษาความลับข้อมูลออกไป สามารถรักษามาตรฐานได้โดยไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการแสวงหาผลประโยชน์จาก Big Data เข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับความพร้อมในการรับมือกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้ระบบ
การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ทำความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และผลกระทบที่จะตามมาของการนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้
References
Ministry of Digital Economy and Society. (n.d.). About the Digital Economy and Society Development Agency. Retrieved April 11, 2022, from https://www.mdes.go.th/mission/detail/2481
Thanyawikrom, K., & Kulsawat, T., (2021). Information security management: A case study of personal data protection in electronic transactions of Thai commercial banks. Journal of Buddhist Social Science and Anthropology, 6(3), 371-386.
Srimuangkanjana, C., (2018). National security strategy framework. Retrieved April 25, 2022, from https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
Singkaew,C., (2021). The role of the government in preventing cybercrime for economic and social security. Journal of Management and Technology Eastern University, 18(1), 539-552.
Tantrakool, T., (2018). Knowledge management and adult learning development in organizations. 12th National Academic Conference and Research Presentation, Western University, July 7-8.
Arunrangsri ,R., (2018). Cyber threat management strategy in the southern border provinces. National Security Course, Class 60, National Defense College.
Wongreanthong, N. (2018). 4 แนวทางที่ผู้บริหารควรทำเพื่อรับมือ Digital Disruption. Retrieved April 8, 2022, from https://www.nuttaputch.com/forbesglobalceo-4-ways-ceo-to-deal-with-disruption
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.