การประเมินนโยบายด้านการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • มนัญญา เสนชัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สืบพงศ์ สุขสม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง,, การเตรียมความพร้อม,, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินนโยบายด้านการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายด้านการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมไปปฏิบัติ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มจำนวน 32 คน การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา

มูลสำหรับผลการวิจัยในครั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินโนบายอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านบริบทประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ปัจจัยที่ส่งผลคือด้านจะสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิที่พึงได้รับของผู้สูงอายุ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ด้านจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการสงเคราะห์ ด้านงบประมาณ ด้านความพร้อมของบุคลากร/วัสดุอุปกรณ์/สถานที่/ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและด้านความพร้อมของผู้สูงอายุ 3) แนวทางที่เหมาะสมประกอบด้วย ด้านกิจกรรมควรมีการส่งเสริมด้วยหลากหลายตามความชอบ ด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุควรจัดให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลตามบริบทสังคม ด้านงบประมาณควรเพิ่มการศึกษาการวางแผนเป็นผู้สูงอายุ ด้านบุคลากรสำหรับดูแลผู้สูงอายุควรมีเพิ่มขึ้นการดูเฉพาะเป็นรายต่อราย ด้านสาธารณะสุขควร ให้มีหน่วยงานสาธารณสุขเข้าไปเยี่ยมชาวบ้านมากขึ้น ด้านการรับบริการควรจัดคิวผู้สูงอายุเป็นอันดับต้นๆ และด้านเตรียมการควรมีวางแผนการเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไปด้านการสื่อสารข่าวสารต่างๆ เข้าถึงผู้สูงอายุทุกชนชั้นและควรใช้อินเตอ์เน็ตฟรี

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.(2542).พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

_________. (2564). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564. จาก https://bit.ly/3hg16ZY การปกครองส่วนท้องถิ่น.

ชูเกียรติ รักบำเหน็จ. (2562). รายงานวิชาการสำนักงบประมาณของรัฐสภา ฉบับที่ 5/2562 แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์.

ธาริกา ศักดิ์เศรษฐ.(2558).การนำนโยบายด้านการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 (379 - 389).กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญทัน ดอกไธสง, สืบพงศ์ สุขสม, ฉัฐสวัสส์ ชาติณัฐพัทธ์ และฉัฐสนันท์ สันวงศ์ลากร. (2565). ความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของผู้อพยพชาวไทใหญ่จากรัฐฉานและรัฐเชียงตุงอาศัยอยู่ตามชายแดนทางเหนือของประเทศไทย. วารสารนานาชาติการศึกษาพิเศษปฐมวัย, 14(8).

บุญมี โททำ. (2561). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีพฤติกรรมเขิงจริยธรรม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยลัยราชภัฏอุบลราชธานี.ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561).

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: เจ เอส การพิมพ์.

Brian W. Hogwood & Lewis A. Gunn. (1984). Policy Analysis for the Real World. Oxford: Oxford University Press.

David Easton. (1953). The Political System: An inquiry into the state of political science, (New York: Alfred A. Knoft, 1953), pp. 19-20.

Easton. (1965). A Framework for Political Analysis. New Jersey: Prentice-Hall.

Frohock. F. M. (1979). Public Policy Scope and Logic. Englandwood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hill. Inc.

James E. Anderson. (1970). Public Policy Making. Longman Publication. USA.

Lasswell, Harold D. & Abraham Kaplan. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University press.

WHO. (2002). Active ageing. A Policy Framework. Geneva: WHO, Available from: https://bit.ly/2Hd4hgf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย