การบริหารหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ พุทธศักราช 2563 ตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
คำสำคัญ:
การบริหารหลักสูตร, ศูนย์การศึกษาพิเศษ, การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ ผู้เรียนพิการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการบริหารหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้เรียนพิการ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้เรียนพิการจำแนกตามคุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ได้ศึกษาแนวคิดการบริหารหลักสูตรของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นกรอบงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูศูนย์การศึกษาพิเศษที่นำร่องในการใช้หลักสูตร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 320 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิชนิดมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีความความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดระบบการจัดการศึกษา เพื่อรองรับและขับเคลื่อน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การรายงานผลและปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า 2.1 ครูศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีคุณวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้เรียนพิการในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2.2 ครูศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้เรียนพิการ ด้านการจัดระบบการจัดการศึกษาเพื่อรองรับและขับเคลื่อน และการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Ministry of Education. (2552). Announcement of the Ministry of Education Ministerial Regulation Type and Prescribing of persons with disabilities in education B.E. 2552 (A.D. 2009). Bangkok : The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.
Ministry of Education. (2562). National Education ACT, B.E. 2542 AMENDMENT (NO. 4). B.E. 2562. Bangkok : The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.
Wannasut, K. (2021). A Study on The State of School Management Following Anti-Corruption Education of CHIANG RAI Primary Educational Service Area Office 3. An Independent for the Master of Education Degree in Educational Administration University of Phayao.
Sukhothai Thammathirat Open University. (2012). Administration and Curriculum development. Nonthabur i: Sukhothai Thammathirat Open University.
Srirot, W., (2556). Management of a small school curriculum. A Case study in The First School district in Ubon Ratchathani Province. Retrieved June 11 2022, from: https://www.hu.ac.th/conference/conference2013/Proceedings2013/pdf/
Klongkhoi, S., (2012). Teachers’ Opinions Towards the School Curriculum Management Based on Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 in Schools under Secondary Educational Service Area Office 32. Thesis Master of Education in Educational Administration Buriram Rajabhat University.
Pramayayoung, S., (2017). School Curriculum Administration by Teachers’ Opinions under Secondary Educational Service Area Office 32. Thesis Master of Education in Educational Administration Buriram Rajabhat University.
Special Education Bureau. (2020). Non-formal CurriculumระดับBasic Education for Disabilities learner B.E. 2563. Bangkok : N.A.RATTANA TRADING.
Wongdach, M., (2019). School Curriculum Administration by Administrators and Teachers Under Lopburi Primary Educational Service Area Office. Thesis Master of Education in Educational Administration Thepsatri Rajabhat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.