การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ ธารเอี่ยม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อรัญ ซุยกระเดื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ไพศาล วรคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการประเมิน, สมรรถนะวิชาชีพ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตร       ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากการวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิควิธีการวิพากษ์วิจารณ์และการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาฉันทามติ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 7 สาขาวิชา และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้ประเมินเป็นกลุ่มเดียวกันในขั้นตอนที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 4 ด้านของคณะกรรมการร่วมพัฒนามาตรฐานการประเมินทางการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ และ The Mann-Whitney U test

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีสมรรถนะ 2 ด้าน 5 องค์ประกอบ และ 34 ตัวชี้วัด 2) รูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมประกอบด้วย วัตถุประสงค์การประเมิน สิ่งที่มุ่งประเมิน องค์ประกอบ ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน วิธีการประเมิน และผู้ทำการประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ทุกด้าน 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมของฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา พบว่า นักศึกษาในกลุ่มสูงมีผลการประเมินสมรรถนะวิชาชีพสูงกว่านักศึกษาในกลุ่มต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีความตรงเชิงจำแนก  4) ผู้ประเมินมีความเห็นว่ารูปแบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.=0.16)

References

Aramsri, A., Akarat, P. and Ratree S. (2011). The vocational teachers professional standard development. Secretariat Office of the Teachers’ Council of Thailand.

Athit, A. (2015). A development of evaluation learning management model for the enrichment science classroom high school level. MahaSarakham: MahaSarakham University.

Boonchom, S. (2010). Preliminary research. (8th edition). Bangkok: Suwe Riisas.

Kay, K. (2010). 21st Century Skill: Why the Matter, What They are, and How We Get There. In Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds.), 21st Century Skills: Rethinking How Students Lean. Bloomington: Solution Tree Press.

Kusuma, J. (2014). Development of an evaluation model : Student competencies bachelor of education program Rajabhat University in the upper southern region. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Metheesin, S. (2012). Model of competency development for industrial teachers in colleges under the office vocational commission. Phitsanulok: Rajabhat Naresuan University.

Muhammad, A., Roziah, M., Mohd, A., and Muhd, K. (2017). Competencies of vocational teacher: A Personnel Measurement Framework.

Oluwasola, A. J. (2014). Professional competence of technical teachers : A factor analysis of the training needs of technical college teachers.

Pinsuda, S. (2010). An education report on learning of revolution toward Thailand turning point: Quality Learning Foundation.

Pongsakorn, K. (2020). Development model of desirable characteristics of industrial teacher

students at rajamangala university of technology. MahaSarakham: Rajabhat MahaSarakham University.

Ratana, B. (2007). Direction area assessment. (8th edition). Bangkok: Chulalongkorn University.

Roberts, T. G., Dooley, K. E., Harlin, J. F., & Murphrey, T. P. (2006). Competencies and Traits of Successful Agricultural Science Teachers. Journal of Agricultural Education.

Saranya, P. (2015). A prospective study of education and human resource management in industrial instructor profession (2016-2026) University. Bangkok: Thammarat University.

Sirichai, K. (2011). Assessment theory. (8th edition). Bangkok: Chulalongkorn University

Somwang, P. (2016). Methodology of Evaluating the Value of Science. (8th edition).Bangkok: Chulalongkorn University.

Thitsana, K. (2015). The study and theory of the methods on effective learning. (19th edition). Bangkok: Chulalongkorn University

Wiggins, G. (1998). Educative assessment: Designing assessments to inform and improve student performance. San Francisco: Jossey - Bass Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย