รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้, การสืบสานภูมิปัญญา, ผู้ประกอบการเซรามิกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง พื้นที่วิจัย คือ หมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน ได้มาจากการการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของกระบวนการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้จะใช้จะถ่ายทอดกระบวนการผลิตเซรามิก ให้กับบุคคลที่ครอบครัวเดียวกันเท่านั้น ขาดการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ยังใช้วิธีการสาธิตและลงมือปฏิบัติจริงเพื่อฝึกความชำนาญ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เห็นกระบวนการผลิตอย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้รับการถ่ายทอดได้ใช้ความคิดของตนเองเพียงอย่างเดียว ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง โดยการนำวิธีการสืบสานภูมิปัญญาในอดีตมาปรับประยุกต์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ EWC Learning Model ภายใต้มิติการสืบสานภูมิปัญญาที่สำคัญ 2 มิติ ได้แก่ มิติการเรียนรู้จากประสบการณ์ และ มิติการถ่ายทอดการเรียนรู้ เพื่อสืบทอด สืบสาน รักษา ต่อยอด และปรับประยุกต์ สู่การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลต่อไป
References
Ceramic S.T.C. (2023). History of ceramics. Lampang: Ceramic S.T.C.
Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs,NJ : Prentice Hall.
Thienprapakul, P. (2014). The transmission of local wisdom. pottery molding youth, Ban Sala Meng, Village No. 9, Tha Pha Sub-district, Ko Kha District, Lampang Province and schools Mae Phrik Witthaya. Khon Kaen : Khon Kaen University.
Manatat, P. (1999). Culture, historical development, identity and wisdom.and clay texture, cast in decorative industrial style. Buriram : Buriram Rajabhat University.
Patpiboon, R. (1995). The process of transferring weaving culture. of the Thai Song Dam people. Chiang Mai : Chiang Mai University.
Choosongdet, R. (2010). Sustainable Search and Management of Cultural Heritage in Pai-Pang Mapha- District. Khun Yuam, Mae Hong Son Province, Phase 3. Bangkok: Office of the Promotion Committee Science, Research and Innovation (TSRI).
Pantiboon, S. (2023). Sculpture to the art of living. Chiang Rai : LOCATION & CONTACT.
Sala Meng Center Committee (2021). Guidelines for the development of industrial villages.creative. Lampang : Sala Meng Center Committee.
Science Park, T. (2001). Thai Wisdom. Bangkok : Technology Center National Electronics and Computers.
Wachirapattarakul, W. (2016). Further development and transfer of local wisdom. Making pottery. Bangkok : Porcelain Industry Development Center.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.