การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ญาณิศา เลิศไกร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน, หลักพุทธโอวาท 3, ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เน้นกระบวนการจัดการศึกษาผ่านคู่มือการจัดการเรียนรู้ พื้นที่วิจัยได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมหาศาล อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 57 คน ตามวิธีดำเนินการวิจัย ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านทุ่งมหาศาล คณะครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เจ้าอาวาส เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย  ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการมีส่วนร่วม บันทึกการจัดกิจกรรมเป็นฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่เกี่ยวกับขอบเขตของงานวิจัยทั้ง 4 ด้าน นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสูงขึ้น จากการจัดกิจกรรมการรู้ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระพระพุทธศาสนา โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงเหตุผล สามารถนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี อยู่ร่วมกับบุคคนในสังคมอื่นได้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของรายวิชาและปฏิบัติตนเป็นพลเมืองและพลโลกที่ดีของสังคม พหุวัฒนธรรม

References

Alongkorn U. (2016). Journal (Humanities and Social Sciences). Bangkok : Alongkorn Review Journal.

Education M. (2009). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok : Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Printing House.

Eka S. (2013). (Activity-Based Learning). Accessed on January 10, 2023. Bangkok: National education standards.

Goodson L. (1998). Higher order thinking skills: Definitions, strategies, assessments. Tallahassee, FL: Center for Advancement of Learning and Assessment.

NCSALL. (2006). Activity-based Instruction: Why and How. Accessed January 20, 2023. National Center for the study of adult Learning and Literacy.

Parinayok. (1992). Principles of Buddhism.7th edition. Bangkok: Thammasapa.

Payutto B. (2000). Right meditation in Buddhist style. Bangkok: Thammasapa.

PhoPhiphat A. (2007). Giving achievements in science and analytical abilities.Observer Year 3 students, don't forget to teach with the Ian Research Activity Pack.concept. M.E. thesis. (Observation). Bangkok : Srinakharinwi University school.

Smith L. (1993). Defining higher order thinking. Theory into Practice, Ministry of Education. (2008). Bangkok: Ministry of Education.32(3), 131−137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2025

How to Cite

เลิศไกร ญ., & พูลเจริญ ณ. . (2025). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 10(1), 46–55. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/267068

ฉบับ

บท

บทความวิจัย