การสำรวจงานช่างศิลป์และพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อการยกระดับคุณค่า ช่างศิลป์ท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัยอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
จังหวัดสุโขทัย, ช่างศิลป์ท้องถิ่น, พลังแห่งการสร้างสรรค์, การพัฒนาอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สำรวจ รวบรวมองค์ความรู้ของครูช่างศิลป์ท้องถิ่นในจังหวัดสุโขทัย และ 2) ถอดองค์ความรู้งานช่างศิลป์ท้องถิ่นที่สำคัญในจังหวัดสุโขทัยพัฒนาเป็นหลักสูตรเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในเชิงคุณค่า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ยึดถือกระบวนทัศน์การตีความ จากแบบสำรวจพลังแห่งการสร้างสรรค์ของช่างศิลป์ท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัยและแบบสำรวจคุณสมบัติครูช่างศิลป์ท้องถิ่นของสุโขทัย ผลการศึกษาพบงานช่างศิลป์ท้องถิ่นสุโขทัยในพื้นที่ ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย โดยพิจารณาครอบคลุมงานช่างศิลป์ 9 สาขา ได้แก่ 1)งานพุทธศิลป์ ศาสนศิลป์และจิตรกรรม 2)งานเครื่องดนตรี 3)งานโลหศิลป์ 4)งานเครื่องจักสาน 5)งานเครื่องปั้นดินเผา 6)งานผ้าและสิ่งถักทอ 7)งานปูนปั้น-งานไม้ 8)งานศาสตราวุธ และ 9)งานเครื่องสด ซึ่งปัจจัยจากการสำรวจช่างศิลป์ที่ส่งผลต่อพลังสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดงานศิลป์พบ 2 ปัจจัยหลัก คือ จากการสั่งสมจากประสบการณ์ในชีวิตของช่างเองและจากการอยากต่อยอดผลงานเก่าให้วิจิตรสวยงามมากยิ่งขึ้น ส่วนงานช่างศิลป์ที่มีความโดดเด่นสามารถต่อยอดเพื่อยกระดับคุณค่าไปสู่ความยั่งยืน ได้แก่ งานเครื่องปั้นดินเผา โดยรวบรวมองค์ความรู้สร้างเป็นหลักสูตรงานเครื่องปั้นดินเผา ในรูปแบบงานเครื่องสังคโลกตามแบบฉบับสุโขทัย มีการจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้นให้แก่คนในชุมชน ด้วยการใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อยกระดับองค์ความรู้ของงานศิลป์ท้องถิ่นสุโขทัยอย่างยั่งยืน
References
Fine Arts Department. (2018). Fine art in metalworking, Permanent exhibition among Phra https://www.silpa-mag.com/news/article_14596
Pidokrajt, N. (2019). Faculty of Humanities and Social Sciences Nakhon Sawan Rajabhat
Brikshavana, N. (2004). Guidelines for the development of a local curriculum in the subject group of learning about pottery by using DISCIPLINE-BASED ART EDUCATION in an elementary school, Sukhothai Province. Chulalongkorn University (n.p.).
Pengkaew, N. (2012). Rueanglao khong phalang. Bangkok: Sukkhapabjai Printing House. Department of Cultural Promotion.
Phungsoonthron, W. (2009). Changsipmu kap ngan changsin thai. Retrieved May 11, 2022,
Chumduang, W. and Akarapotiwong, P. (2020). Crafts, Folk Art and Traditional Culture Development of Tourism - Community Network along The World Heritage Corridor; Si satchanalai, Sukhothai, and Kamphaeng phet under Creative City Concept (Research reports). Chiang Mai: Chiang Mai University.
Leesuwan, V. (2004). Thatsana Sin Thai. Bangkok: Chomrom Dek.
Padcharoen, S. (2020). Retention Factors of Craftmen in Thai Architectural Construction Organizations. Master's degree - Construction Project Management. Silpakorn University.
Thaiartisan. (n.d.). Prawat Khwam Pen Ma Sathaban Chang Sin Thongthin. Retrieved May 11, 2022, from https://thaiartisan.org/about/
Equitable Education Research Institute (EEFI). (2020). 5 educational situations in Thailand that https://research.eef.or.th/
Maneerin, S. (2021). Khrueang Dontri Thai Cha Pen Chanai Hak Mai Mi Chang Sang Lae Som.
Dissakul, S. (2007). Art in Thailand. Bangkok: Matichon. from http://blogger-kanok.blogspot.com/2009/11/blog-post.html
Royal Academy. (2013). Royal Institute Dictionary 2011. 4th ed. Bangkok: Royal Academy. Retrieved May 11, 2022, from https://thaiartisan.org/
Wiman Wang Na National Museum Phra Nakhon. Retrieved May 12, 2022, from you should know for sustainable education goals. Retrieved July 12, 2022, from University Academic Journal, VOLUME 6 ISSUE 2 July – December 2019.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.