การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐชัย ธีระวริทธิ์กุล มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมสมร วงศ์รจิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การบริหารความขัดแย้ง, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา          ตามความคิดเห็นของครู 2)เปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็น     ของครู จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน และ ขนาดของสถานศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ได้ศึกษาทฤษฏีการบริหารความขัดแย้งของ Thomas & Kilmann (1987) เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 300 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบบมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติอ้างอิง คือ Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร มีความคิดเห็นต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร รายด้านอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านการร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการแข่งขัน 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่าครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ ในการสอนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตสายไหม สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ด้านการแข่งขันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ใช้เป็นข้อมูลให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปกำหนดนโยบาย วางแผนในการบริหารงานบุคคล เพื่อลดความขัดแย้งในสถานศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Kusol Chummung, Wilai Tangjitsomkid, and Surasak Labmala (2018). how to manage conflicts school administrators Schools under the Southern Bangkok Group. Academic and researchjournals Phranakhon Rajabhat University, 3(1), 34-45.

Chompoonut Ngern Dit (2017). Teachers' Opinions on Conflict Management school administrators according to teachers' perceptions Network Group 49 Khlong Sam Wa District Office Retrieved April 29, 2022, From http://www.edu-journa http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/572.ru

Mingkwan Pongsathit (2017). Conflict management within the organization. Bangkok: Bureau of ForeignAffairs, Court of Justice.

Office of the Bangkok Civil Service Commission (2011). Act, Bangkok Metropolitan Administration and Bangkok Personnel. Retrieved April 18, 2022, From https://office2.bangkok.go.th/

Siriwan Monattrapadung (2016). Organizational Conflict Management creatively. Walaya AlongkornReview Journal 6 (2): 193 - 208.

Sai Mai District Office (2022). Student statistics for the academic year 2022. Bangkok: Pote

paper box.

Onanong Sawatburi (2013). Organizational Behavior and Communication. Bangkok: Chulalongkorn University.

Sukanya Simma (2017). Opinions of educational institution administrators and teachers on risk management Conflict of school administrators. Rat Burana District Office Retrieved April 29, 2022, From http://www.edu- journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/

Nipatra Sridee (2013). Conflict Management Behavior of School Administrators Thung KhruDistrict Office belong to Bangkok. Master of Education Thesis EducationalAdministration Faculty of Education, Ramkhamhaeng University.

Thomas, K. W. & Kilmann, R. H. (1987). Thomas - Kilmann conflict model interest. Retrieved June 10, 2022, From https://kilmanndiagnosti

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย