รูปแบบการจัดการใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พิสัณห์ โบว์สุวรรณ
  • ภคมน โภคะธีรกุล
  • วรสิทธิ์ เจริญพุฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

คำสำคัญ:

การจัดการ; , หนี้สินครัวเรือน; , เกษตรกร; , จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการจัดการแก้ใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกร 2)เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการแก้ใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรเมื่อจำแนกจากลักษณะประชากร 3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนหนี้สิน ครัวเรือนของเกษตรกร กับการจัดการหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกร 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการแก้ใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกร       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 17 รายจากการสุ่มแบบเจาะจงวิเคราะห์ แก่น สาระและการตีความ   และนำผลการวิจัยมาทดสอบยืนยันด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยเกษตรกร จำนวน 500 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพียรสัน และสมการถดถอยเชิงพหุ

          ผลการวิจัยพบว่า 1)ด้านการจัดการแก้ใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์อยู่พบว่าในระดับปานกลาง 2)ด้านเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการแก้ใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรเมื่อจำแนกจากลักษณะประชากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนหนี้สิน ครัวเรือนของเกษตรกร กับการจัดการหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรพบว่า เป็นเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01   4)ด้านรูปแบบการจัดการแก้ใขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรประกอบด้วยการจัดการปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกร = 1.208 ค่าคงที่ + .539เข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของเกษตรกร_.365 การบริโภคสินค้าและบริการที่เกินพอดี + .263 ภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพและขนาดที่ดิน +.206 ปัจจัยจิตลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง

References

ChiangmaiDaily Subcommittee on Strategy Development and Reform Framework. (2015). Thailand Next 20 Years. Retrieved Form: http://www.moneyandbanking.co.th/new/, April 20, 2020.

Office of Agricultural Economics. (2014). Information of agricultural production. Retrieved Form: http://www.oae.go.th/ ewt_news.php?nid=13577., March 27, 2020.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2011). Report on poverty and inequality in Thailand 2010. Retrieved Form: http://www.nesdb.go.th/, March 2, 2020.

Office of the Permanent Secretary. (2016). Ministry of Agriculture and Cooperatives. Retrieved Form: http://www.opsmoac.go.th/main.php?filename= index2016., April 16, 2020.

Pairote, B. (2017). The Method of Solving the Debt Problems according to the Buddha’s Teachings of Local Scholars in Khon Kaen Province. Journal of Yanasangvorn Research Institues, 5(2) pp. 1-6.

Pengpinit & Opatpatanakit. (2016). Factors Affecting Success in Debt Problem Solving of Volunteer Farm Households in San Sai Sub-district, Phrao District, Chiang Mai Province Songklanakarin. Journal of Plant Science, 3,(1) pp. 1-6.

Poupongsakorn, N. et al. (2015). The study of farmers’ debt and the guidelines for improving the operation of the funds under the supervision of the Ministry of Agriculture and Cooperatives. Thailand Development Research Institute Foundation. Bangkok: Office of Agricultural Economics.

Prayunsitthi, T. (2016). Ministry of Agriculture and Cooperatives. Chiangmai: Ministry of Agriculture and Cooperatives

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย