การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาล ที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา

ผู้แต่ง

  • อิศรา รุ่งทวีชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อัจฉราพรรณ กันสุยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

โมบายแอปพลิเคชัน, คัดกรองเด็กอนุบาล, บกพร่องทางสติปัญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา และ2) เพื่อศึกษาผลการใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 34 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรอง แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา แบบประเมินประสิทธิภาพด้านการทำงานของโมบายแอปพลิเคชัน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงการสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ผลการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา พบว่า ในภาพรวมด้านเทคนิคการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน และด้านการทำงานของโมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. ผลการใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา พบว่า ในภาพรวมครูมีความพึงพอใจต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญาในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านเนื้อหา ด้านการแสดงผล ด้านการจัดการแอปพลิเคชัน และด้านการออกแบบ ตามลำดับ

ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ได้โมบายแอปพลิเคชัน i-TEAM เป็นเครื่องมือของครูผู้สอนในระดับปฐมวัย หรือผู้ที่สนใจ สามารถใช้คัดกรองเด็กอนุบาลที่มีความเสี่ยงต่อการบกพร่องทางสติปัญญา เพื่อช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป

References

Arayawinyu, P. (1999). Education for children with special needs. (3rd edition). Bangkok: A Art and Printing.

Areemit, R. et. Al. (2017). “Healthy Happy Kids Mobile Application” (Year 2). Khon Kaen: Khon Kaen University in collaboration with the National Electronics and Computer Technology Center.

Branch, R. M. (2009). Instructional design: The ADDIE approach. New York: Springer.

McGriff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD) : Using the ADDIE Model" Instructional Design Model, 226(14), 1-2.

Sriwarawiboon, B. et al. (2013). The development of an Intructional model on Reading comprehension of Thai language subject group through internet network for mathayomsuksa 3 students. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajaphat University, 7(3), 58-77.

Lawang, W. et al. (2018). Developing ‘Smart Caregiving’ Application to Support Caregivers of Persons with Mobility Disability. Chonburi: Burapha University.

Ministry of Social Development and Human Security (2020). Report on the situation of people with disabilities in Thailand. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security

Noulkam, W. & Chutosri, T. (2019). Development of application to promote sexual education and students’ life skills in integrated manner for Mathayom 3 students. The 2nd National Conference on Student Research in Humanities and Social Sciences. Humanities and Social Sciences, Suan Sunandha Rajabhat University.

Office of the Basic Education Commission. (2013). Training manual for creating learning media on tablets. Bangkok: Office of the Basic Education Commission

Ponglunhit, S.,& Lekdee, A. (2017). The Application Development of Early Childhood Skills On the Android Operating System. The 3rd National Conference on Technology and Innovation Management NCTIM 2017 .RajabhatMahaSarakham University, 1-6. http://chair.rmu.ac.th/file-paper/[email protected]

Rawengwan, P. (2021). The Development of Learning Materials to Enhance Vocabulary Skills in 3 Languages for Early Childhood on Smart Phone. Journal of Northeastern University Neu Academic and Research. 11(2), 167-180.

___________ (2022). Development of Applications enhance the skills for learning English for Early Childhood Phonics Workbook. 9th National Academic Conference and Presentation of Research Results and 7th International Conference, Northeastern University. 539-549.

Teerakasemsuk, P. (2015). Medie Exposure, Attitude and Avoidance Behaviors in Mobile Application Advertising of Thai Teenagers. Master of Communication Arts Thesis Marketing Communications. Chonburi: Burapha University.

Youngmee, K., & Soodsang, N. (2020). Effects of Game Applications Model on Art Learning and Spatial Relations of Early Childhood. Journal of College of Social Communication Innovation. 8 (15), 89-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย