“น้ำใจ” : การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • วิริยวิศศ์ มงคลยศ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิริวรรณ นันทจันทูล ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

น้ำใจ, อุปลักษณ์, อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์ของคำว่า น้ำใจ
ในภาษาไทย ตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน ของ Lakoff and Johnson (1980) Gibbs (1994) และ Kövecses (2010) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบ
โดยเก็บข้อมูลจากงานเขียนทางวิชาการ งานเขียนกึ่งวิชาการ เรื่องแต่ง หนังสือพิมพ์ กฎหมาย และเบ็ดเตล็ด ในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus : TNC) ของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,245 ข้อความ

          ผลการวิจัย พบถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์ของคำว่า “น้ำใจ” ในภาษาไทย จำนวน 404 ถ้อยคำอุปลักษณ์ จัดกลุ่มได้ 5 มโนอุปลักษณ์ เรียงลำดับตามที่ปรากฏถ้อยคำอุปลักษณ์มากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ [น้ำใจ คือ มนุษย์] [น้ำใจ คือ น้ำ] [น้ำใจ คือ วัตถุสิ่งของ] [น้ำใจ คือ พื้นที่] และ [น้ำใจ คือ เงิน/ทรัพย์สิน] มโนอุปลักษณ์ดังกล่าวสะท้อนมโนทัศน์ของคำว่า “น้ำใจ” ได้ว่า วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยให้ความสำคัญกับการมีน้ำใจหรือการแสดงน้ำใจ จึงสะท้อนผ่านการใช้ภาษาของผู้ใช้ภาษาในปัจจุบัน ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ เพียงแสดงความมีจิตเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่าน้ำใจเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงมีเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะมีน้ำใจต่อผู้อื่น และรักษาน้ำใจซึ่งกันและกันเพื่อการอยู่ร่วมกันที่ดีในสังคม

References

Bandumedha, N. (2016). Klangkam. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Eakapont, T. & Wongpinunwatana, W. (2014). Metaphors on Suffering in Thai Language. Proceedings of the Conference on Graduate Research Conference (pp.2330-2339). Khonkaen: Khonkaen University.

Gibbs, R. (1994). The poetics of mind: Figurative Thought, Language, and Understanding. New York: Cambridge University Press.

Kaewjungate, W. (2012). Human Passion, or / kìlèet /: A Study of Conceptual Metaphor in Thai. Humanities journal, 19(2), 24-41.

Kavilanan, S. (2019). Habit or /nísǎj/ : A Study of The Concettual Metaphor in Thai National Corpus based on Cognitive Semantics and Pragmatics. Journal of the faculty of Arts, 41(1), 23-42.

Kövecses, Z. (2010). Metaphor : A Practical Introduction. New York: Oxford University Press.

Kyung Eun Park. (2015). Conceptualization of /chai/ in Thai in Comparison with Korean Counterpart. Journal of Liberal Arts, 15(2), 199-212.

Lakoff, J. & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Chicago: The University of Chicago Press.

Moore, J. (1992). Heart Talk. Bangkok: White Lotus.

Obpat, P. (2009). Metaphors about Life in Dharma Books. Master Dissertation, M.A. Thai Language, Chulalongkorn University, Thailand.

Petchkij, W. (2008). A Cognitive and Pragmatic Study of Cancer Metaphors in Thai. Doctoral Dissertation, Ph.D. Linguistics, Chulalongkorn University, Thailand.

Royal Society of Thailand. (2013). Royal Institute Dictionary. Royal Society of Thailand version. Bangkok: Nanmeebooks.

Sangharaja. (2016). Dharma gives New Year's blessings, giving generosity, for a beautiful life. Bangkok: Thammasapa.

Sangngern, B. (2010). Kindness joins in building the image of Thailand. Retrieved December 25, 2022, from https://www.gotoknow.org/posts/374103

Tassanaiyana, S. (2013). The Thai People’s Ways of Life as Derived from the Thai Idioms Containing the Word “Nam”. Journal of Liberal Arts. 13(2), 40-57.

Tawichai, S. (2006). Conceptual Metaphors of Anger in Thai. Master Dissertation, M.A. Thai Language, Silpakorn University, Thailand.

Thairath. (2013). Good signal foreign tourists Thumbs up for Kindness of Thai people. Retrieved December 25, 2022, from https://www.thairath.co.th/content/323715

Yao Siqi. (2020). Comparing the Conceptual Metaphor of “THE HEART IS A LOCATION” in Thai and Mandarin Chinese. Manutsayasat Wichakan, 27(2), 215-239.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย