การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโนนสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การจัดสวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบลโนนสว่างบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโนนสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ และ (2) ศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโนนสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลโนนสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 294 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบสมมติฐาน ด้วย Independent Sample t-test และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่มด้วย One-Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลโนนสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.82) โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ มีความคิดเห็นมากที่สุดคือด้านการศึกษา ( =4.00) รองลงมาคือด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส (=3.85), ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( =3.81), ด้านสุขภาพอนามัยและนันทนาการ ( =3.74) และด้านที่อยู่อาศัย ( =3.71) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ปัญหาในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุได้แก่ เงินเบี้ยยังชีพที่รัฐจ่ายให้แก่ผู้สูงอายุเดือนละ 600-1,000 บาทไม่พอยังชีพในแต่ละเดือน วัสดุ /อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ส่วนแนวทางในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุนั้นรัฐบาลควรมีการเพิ่มเงินในการจ่ายเบี้ยยังชีพให้สูงกว่าในปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ค่าครองชีพสูงในปัจจุบัน และควรจัดหาให้มีวัสดุวัสดุ /อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอต่อการบริการผู้สูงอายุ
References
Apichano, P and Apaisak, P. (2018). Management of Social Welfare for the Elderly in the Municipal Area of Bang Kratuek Subdistrict,Sam Phran District, Nakhon Pathom Province.
Council of State, Office. Municipality Act B.E. 2496. https://www.krisdika.go.th/librarian/
Insuk, R and Rojanatrakoon, T. (2020). A study of social welfare provision for the elderly In the area of Kamphaeng Din Subdistrict Administrative Organization, Sam Ngam District, Phichit Province.
Non Sawang Municipality. (2022). Preliminary information from Non Sawang Municipality Registration Office. Bueng Kan.
Nonthapatmadul, K. (2002). Family and Social Welfare Unit 1-3. Nonthaburi:Sukhothai Thammathirat Open University Press.
Prachuapmoh, W. (2013). Situation of the Thai Elderly 2012. Nonthaburi: SS Plus Media.
Prasertsuk, Ng. (2021). Management of Social Welfare for the Elderly in the Elderly Social Welfare Development Center.
Promnoi, M. (2016). Satisfaction of the elderly with social welfare management of sub-district municipalities Ban Khlong, Muang District, Phitsanulok Province.
Samngamsuea, K. (2020). Management of Social Welfare for the Elderly in the Thung Khok Subdistrict Administrative Organization Song Phi Nong District Suphanburi Province.
Statistical data service, Department of Administrative Protection, Ministry of Interior, data as ofJanuary31, 2022.https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat /webPage/ statByAgeMonth .php.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York: Harper and RowPublications.
The committee supported the development plan of Non Sawang Subdistrict Municipality.(2021). local development plan (2023-2027) of Non Sawang Subdistrict Municipality.Bueng Kan: Copy House Printing Bueng Kan.
Wutthi, M . (2010). Strategies for social welfare management for the elderly, Aranyik Subdistrict Municipality ,Nakhon Luang District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province.
Yusabai, N. (2014). Social Welfare Needs of the Elderly in Sub-District Administrative Organizations Hua Takhe Noi, Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.