แนวทางการยกระดับการส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนย่านกะดีจีน

ผู้แต่ง

  • อวิกา สุปินะ -
  • ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย
  • สายชล ปัญญชิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การเรียนรู้, แหล่งเรียนรู้, ชุมชนย่านกะดีจีน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนย่านกะดีจีน เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ผ่านการจัดการโดยภาคเอกชน และเพื่อเสนอแนวทางการยกระดับการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนย่านกะดีจีน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือการวิจัยที่สำคัญประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีการบันทึกรายการอย่างอิสระ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเนื้อหา พื้นที่การศึกษาวิจัยคือ ชุมชนย่านกะดีจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

         ผลการวิจัยพบว่า แหล่งเรียนรู้ในชุมชนย่านกะดีจีน เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย ไม่มีรูปแบบตายตัว มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนย่านกะดีจีน มีรูปแบบการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายที่อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีแผนนโยบายในการบริหารจัดการที่ชัดเจน ทำให้การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จได้ดีเท่าที่ควร สำหรับการเสนอแนวทางการยกระดับการส่งเสริมการเรียนรู้ มีดังนี้ 1) สมาชิกในชุมชนต้องตระหนักเห็นถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน 2) แหล่งเรียนรู้ควรกำหนดแผนนโยบายในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) แหล่งเรียนรู้ควรร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการออกแบบการเรียนรู้ 4) สร้างแพลตฟอร์มความรู้ภายในชุมชน เพื่อเป็นพื้นที่กลางในการบริหารจัดการองค์ความรู้ 5) จัดตั้งกองทุนการอนุรักษ์ซ่อมแซมแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่ออนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ให้เป็นสถานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่อนุชนรุ่นต่อไป 6) แหล่งเรียนรู้ควรร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือและทำให้แหล่งเรียนรู้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

References

Sakulwichitsintu S. (2018). Information technology Online collaborative Learning. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/97009

Serisakul, N., & Ovatvoravarunyou, T. (2022). An Analysis of Social Networks for Driving Bangkok’s Learning City Concept: A Case Study of Kadeejeen-Khlongsan Neighborhood. King Prajadhipok’s Institute Journal, 20(2). Retrieved from https://so06.tcithaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/255548/174214

Kaewnon P. (2010). Model for management lifelong learning centre at Khaodurian Community, Tambon Khaphra, Amphoe Muang, Nakhon Nayok Province. Silpakorn University Journal: Faculty of Archaeology, 9(2). Retrieved from http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/

Kaewchaithen P. (2019). Guidelines for arranging lifelong learning resourses In neighborhood area of Chulalongkorn University to promote the youths to be lifelong learners (master’s thesis). Faculty of Education, Chulalongkorn University Retrieved from https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b2257185

Phisit, Gumpanat & Sumalee. (2018). Management of local museums to promote lifelong learning. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/98090

Yuvabadhanafoundation. (2020). Change yourself into the youth of the 21st century. Retrieved 28 November 2022, fromhttps://www.yuvabadhanafoundation.org/th

Chantavanich S. (2010). Data Analysis in Qualitative Research. Bangkok: Chulalongkorn University.

Anecha, Panwilai & Paisarn. (2020). Development of Life-Long Learning Skills for grade 10 students by Mobile – Learning (m – Learning). Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 21(2).

Noojoy, Disathaporn & Lohitwisas. (2018). Development Of Community Leader Potential Forbeing Learning Community. Journal Of Industrial Education Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 11(1). Retrieved 29 November 2022, from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/article/view/8855

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย