แนวทางการจัดการตลาดส่งเสริมการเที่ยวเชิงเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาศักดิ์ดนัย เนตรพระ -
  • เอกมงคล เพ็ชรวงษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการตลาด/ ส่งเสริมการเที่ยวเชิงเกษตร / กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพุทธ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันการจัดการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) ศึกษาองค์ประกอบหลักและการจัดการส่วนประสมการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 3) เสนอแนวทางการจัดการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญและผู้ร่วมวิจัยคือผู้ประกอบการ สมาชิกและผู้นำชุมชน ใช้การเลือกแบบเจาะจงจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรจำนวน 4 แห่ง เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ SWOT จัดเวทีเสวนา สังเกต และการตรวจเยี่ยมประเมินผลประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบอุปนัยและเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงอนุมานและเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการณ์ปัจจุบันการจัดการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนวิถีพุทธ มีทั้งปัจเจกชนและคณะบุคคลเป็นเจ้าของกิจการสร้างค่าคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีระบบเทคโนโลยีและระบบการรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย การคมนาคมสะดวก มีกิจกรรมให้บริการทุกกลุ่มทุกรุ่นอายุ มีผลิตผลทางเกษตรปลอดสารพิษและของฝากไว้บริการ 2) องค์ประกอบหลักและการจัดการส่วนประสมการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระดับดีมาก มีค่าคะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 72.75 คะแนน สอดคล้องกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แต่ต้องมีการเสริมสร้างการจัดทำแผนพัฒนาองค์กร เปิดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกกิจกรรม และ 3) แนวทางการจัดการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนวิถีพุทธ ได้แก่ (1) การยกระดับองค์ประกอบหลักแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่มาตรฐานคุณภาพ (2) การบริหารจัดการองค์ประกอบหลักแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้สัมพันธ์กับส่วนประสมการตลาดด้านการให้บริการ (3) การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

References

Agricultural tourism” is a hot trend. When city people want to experience rural life and escape COVID-19 https://positioningmag.com/2289665

Community Enterprise Information System, Community Enterprise Promotion Division Department of Agricultural Extension. (2022). Report summarizing the types of business of community enterprises that have been approved for registration in Suphan Buri Province. hhtps://smce.doae.go.th/smce1/report/select report e. php?report id=17.

Community Enterprise Information System, Community Enterprise Promotion Division Department of Agricultural Extension.(2022). Summary report of community enterprises that have been approved for registration, Suphan Buri Province, dated March 25, 2022 hhtps://smce. doae. go.th/smce1/report/select report e. php? report id=17.

Document and Archives Committee. (2001). Culture. historical development Identity and Wisdom of Suphanburi Province, (Bangkok : Fine Arts Department, .

Information center National Health Commission Office (2022). Data Triangulation, [online], source: https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/.

Interview . (2022). Somwang Creative Agricultural Community Tourism Group at Wang Yang, Thai Farmer Lifestyle and Spirit Learning Center (Nahia Chai), Banana Breed Conservation Learning Center. Suphanburi Province, and Ban Laem Suphanburi Subdistrict Community Tourism Group,.

Khon Kaen Vocational College, Marketing Principle, online, source: https://sites. google.com/site/toeykanoknipa 2541/baeb-thdsxb-9 [3 May 2022].

Nikhom Wongnanta, Wittaya Charoen Arunrat. (2014). Report on academic project results. Learning about conservation and collection of banana varieties, Office of Agricultural Research and Promotion, Maejo University.

Nipaphan Jensontikul. (2019). “Development of community enterprises in the lower central region 1 to enhance competitiveness in the ASEAN community”, Journal of Political Science and Public Administration, Year 10, Issue 1.

Periscope Phanthubanyong. (2002).Practical TQM: Tsuyama Problem Solving Techniques, (Bangkok: Technology Promotion Association. (Thai-Japanese), .

Phattharapon Avachanakarn. (2015). Marketing factors and behavior of sustainable cultural tourists. in Laplae District Uttaradit Province, Master of Business Administration Program Faculty of Commerce and Accountancy Thammasat University, .

Siriwan Serirat et al. (2009). Concepts of marketing management in the new era ; Bangkok, Thammasat, .

Suphanburi Provincial Development Plan, fiscal year 2019-2022. ( 2020). (Online) Source from https://ww2.suphanburi.go.th/files/com strategic/2029-02_3698f42fc355f67.pdf

Tong Khamkerd et al. (2020). Community Agro-Tourism Development by Wang Yang Community Multilateral Organization. Suphan Buri Province, research article, Research Journal for Area-Based Development, Year 12, Issue 6.

Waraporn Bunchiang, Participatory Action Research (Participatory action Research -PAR), Faculty of Public Health Chiang Mai University, [online], source: https://www.chiangmaihealth .go.th/cmpho_web/document/ [12 Apr. 2022].

Yingluck Kanchanarek et al. (2017). Complete Research Report, Project “Elevating Agricultural Sustainability of Smallholder Farmers, Chae Hom District, Lampang Province,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย