รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สมแพง อินอาน -
  • สายันต์ บุญใบ
  • สุรัตน์ ดวงชาทม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนาภาวะผู้นำ, รองผู้อำนวยการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน ปีการศึกษา 2563 รวม 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผล เป็นการทดลองใช้รูปแบบกับรองผู้อำนวยการโรงเรียน 25 คน และทำการประเมินสรุปผล มีการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนใช้รูปแบบ ระยะใช้รูปแบบ และระยะติดตามผล

ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) การเสริมสร้างแรงจูงใจ และ 5) การมุ่งเน้นผลสำเร็จ 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เอกสารประกอบการพัฒนา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การติดตามและประเมินผล 3. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 1) ภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการ ในระยะติดตามผล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (   ) เท่ากับ 4.94 2) ภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการ ระหว่างระยะใช้รูปแบบกับระยะก่อนใช้รูปแบบมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 25.20 3) ภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการ ระหว่างระยะใช้รูปแบบกับระยะติดตามผล มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 25.60 จากผลการทดลองพบว่ารองผู้อำนวยการมีความก้าวหน้าและมีพัฒนาการของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล แสดงว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำนี้มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้

References

Meness-Trejo, M.J. (2004). A comparison of effective leadership characteristics and policy implementation: The role of educational leaders in developing and maintaining an environment that improves efficiency in schools. Retrieved January 20, 2020, from California State University, Web site : http://www.lib:umi.com/

Northouse Peter G. (2010). Leadership Theory and Practice. 5th ed. California: SAGA Publication, inc,

Paul Hersey and Kenneth H. Blanchard. (1993). Management of Organizational Behavior : Utilizing Human Resources.

Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall. Sandra lee gupton. (2010). The Instructiona leadership Toolbox A handbook for inproving Practive. USA: Corwin A SAEE Company.

Sergiovanni,

T.J,, Kelleher, P., McCarthy, M.M., & Wirt, F.M. (2004). Educational governance and Administration (5ed.). Boston: Pearson Education.

Vicere, Albert A. and Fulmer, Robert M. (1998). Leadership by Design Hardcover. Harvard Business School Press.

Willer D. (1986). Scientific Sociology: Theory and Method. Englewood Cliff, N.J.:

Prentice-Hall. Winter, G. (2003). High performance leadership. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย