การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาทักษะพลเมืองดิจิทัล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ผู้แต่ง

  • วรานนท์ คลังสีดา วรนรากุล มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ทักษะพลเมืองดิจิทัล, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน, วิชาชีวิตกับสังคมไทย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาทักษะพลเมืองดิจิทัล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ที่เน้นกระบวนการจัดการศึกษาผ่านปรากฏการณ์ที่เป็นจริงในสังคม บูรณาการผ่านการตั้งคำถาม เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ร่วมกับการพัฒนาสื่อดิจิทัลประกอบการสอน  และการประเมินผู้เรียนแบบพหุมิติ พื้นที่วิจัย คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก   5 แห่ง โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 354 คน ได้มาจากการสุ่มตามสูตรของ  Krejcie&Morgan และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด คือ  1) แบบสอบถามการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาทักษะพลเมืองดิจิทัล  2) แนวคำถามในการสัมภาษณ์ครูผู้สอนและผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย  ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิธีการวิเคราะห์การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์เขียนบรรยายเชิงพรรณนา  ผลการวิจัยพบว่า  จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาทักษะพลเมืองดิจิทัล  นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีทักษะพลเมืองดิจิทัลอยู่ในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51  เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกนำมาพัฒนาและแก้ไขปัญหา ผู้วิจัยจึงดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งมีความคิดเห็นว่าควรดำเนิน  การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัลให้กับนักศึกษา  โดยการใช้ปรากฎการณ์ในสังคมมาเป็นกรณีศึกษาแต่ละหน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย  ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นสื่อการสอน

References

Ministry of Education. (2017). National Education Plan 2017 – 2036. Bangkok : Office of the Education Council Secretariat.

Yodphet, B. (2019). Redesigning the vocational curriculum to step into the digital age of technician children. Bangkok : Komchadluek.

Wongsecret, F. (2022). Teaching and learning management in the digital world. Bangkok : Dailynews.

Child Media. (2020). DQ: Digital Intelligence. Pathum Thani: Walk on Cloud Company Limited.

Office of the Education Council Secretariat. (2017). National Education Development Plan. Bangkok: Ministry of Education.

Chun Meng Tang and Lee Yen Chaw. (2016). Digital Literacy: A Prerequisite for Effective Learning in a Blended Learning Environment? Chun Meng Tang and Lee Yen Chaw.

Chaichaowarat, R (2020).Phenomenon Based Learning: Phenomenon-Based Learning as the base. Udon Thani: Udon Thani Rajabhat University.

Luci Pangrazio. (2021). Digital Rights, Digital Citizenship and Digital Literacy: What's the Difference? Deakin University, Australia.

Silander, P. (2015). Phenomenon-based learning rubric. Retrieved http://nebula.wsimg.com/

Tohid Moradi Sheykhjan. (2017). Internet Research Ethics: Digital Citizenship Education. Department of Education, University of Kerala.

UNESCO. (2018). A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for Indicator, Retrieved December 10, 2020. http://uis.unesco.org/sites/default/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย