รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ
  • สมเกียรติ สายธนู
  • ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี และ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

วิสาหกิจชุมชน; , เศรษฐกิจฐานราก; , อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก.

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและบทบาท ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาและตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เขตอุทยานธรณีโลกสตูลเป็นพื้นที่วิจัย ประชากร คือ ผู้ประกอบการหรือตัวแทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล จำนวนทั้งสิ้น 56 กลุ่ม ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบประเมิน 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 4)การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้หลักการเปรียบเทียบข้อมูล การหาความหมายจากข้อมูล และการสร้างข้อสรุปอุปนัย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา อาทิ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มที่สำคัญมาใช้ในการศึกษาวิจัย

      ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการรวมตัว ก่อตั้ง และดำเนินงานมาก่อนการก่อตั้งอุทยานธรณีสตูล และผลักดันจนเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมจากระดับชุมชนในท้องถิ่นผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยมีการปรับตัวของสังคมวิถีใหม่ (New Normal) และอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายการสื่อสารและสารสนเทศผลักดันสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจากการดำเนินการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 : ด้านศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน องค์ประกอบหลักที่ 2 : ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย องค์ประกอบหลักที่ 3 : ด้านการสร้างการรับรู้ในคุณค่าที่เป็นประโยชน์ องค์ประกอบหลักที่ 4 : ด้านสาธารณะประโยชน์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

References

Brundland Commission. (1987). Our common future: Report of the World Commission on Environment and Development. Retrieved from http://www.un-documents.net/our-commonfuture.pdf.

Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand. (2014). The Post 2015 Development Agenda and the UN Framework for Sustainable Development Goals. from http://mfa.go.th

Ministry of Natural Resources and Environment. (2013). Introduction to Sustainable Development. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Kasamaporn Puangprayong and Nopporn Chantnamchu. (2013). Guidelines for the development of community enterprises, processing, and product groups in Samut Songkhram Province. Silpakorn Education Research Journal, 5(1), page 20-23.

Community Enterprise Promotion Division, Department of Agricultural Extension (2020). Information on the Community Enterprise Network of Satun Geopark. from https://smce.doae.go.th/

Management and development of global geoparks in different areas. able to meet the principles of sustainable development Sustainable Development Goals 8 target from 17 target. From http://www.unesco.org/new/en/natural-sciences/environment/earth-sciences/

Kanyamon Inwang et al. (2011). Community Enterprise Management. 1st printing Phitsanulok: Phitsanulok University.

Committee for promoting the Conservation of Geological Sites and establishing a geopark. Get to know more about the UNESCO Global Geopark. from https://www.geopark-thailand.org/unesco-global-geoparks/

Chantana Pongsitthikanjana. (2013). management model for achieving the community enterprise strategy in Nakhon Pathom Province. Doctoral Journal of Social Sciences (Humanities and Social Sciences edition), 3 (2), p. 46.

Somkiat Suttinakorn. (2017). Developing innovative management models that affect the value creation of community enterprise products. Ph.D. thesis. Bangkok: Silpakorn University.

Siam Arun Srimorakot and Yongyuth Watcharadul. (2016). The United Nations' 17 Sustainable Development Goals for a Future World. Thai interdisciplinary research journal, 11(3), 2-6

Satun UNECO Global Geopark (2562). Guidelines for establishing UNECO Global Geopark. From http://www.satun-geopark.com/

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2005). A situational analysis of education for sustainable development in the Asia Pacific Region. Bangkok, Thailand: Author.

World Commission on Environment and Development. (1987). Our Common Future. New York: Oxford 1 University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย