วิทยาศาสตร์ในงานจิตรกรรม

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา การกสิขวิธี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศิริรัตน์ ศรีสอาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นาตยา ปิลันธนานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

วิทยาศาสตร์, จิตรกรรม, ศิลปิน, การสัมภาษณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในงานจิตรกรรม ด้วยการสัมภาษณ์ศิลปินที่มีผลงานจิตรกรรม 5 ประเภท คือ ภาพสัตว์ ภาพประกอบเรื่อง ภาพคน ภาพทิวทัศน์ และภาพหุ่นนิ่ง ประเภทละ 1 คน รวม 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและมีข้อคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับการวาดภาพแต่ละประเภท ที่มาของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพ จัดเก็บข้อมูล สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วใช้สถิติการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาพจิตรกรรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วยภาพสัตว์ใช้สีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ภาพประกอบเรื่องใช้สีอะคริลิกบนผืนผ้าใบ ภาพคนใช้ดินสอสีไม้บนกระดาษ ภาพทิวทัศน์ใช้สีน้ำบนกระดาษ และภาพหุ่นนิ่งใช้ สีชอล์กบนกระดาษ
  2. มีแนวทางการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในงานจิตรกรรม ดังนี้

                   2.1 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง เพื่อให้สัดส่วนและโครงสร้างถูกต้องเหมือนจริง                       2.2 ใช้ทักษะการสังเกตร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง

                   2.3 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบตัดทอน ในการสร้างงานที่บิดเบือนไปจากของจริง                  เพื่อสร้างอัตลักษณ์ในงาน

                   2.4 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในนัยยะของศิลปะโดยไม่สนใจว่ามีความรู้วิทยาศาสตร์แฝงอยู่ 

  1. ที่มาของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้มาจากการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การศึกษาด้วยตนเอง จากหนังสือ วารสาร อินเตอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญ และการศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง

References

Bachelor of Arts Program Department of Applied Arts Education. (2022). Faculty of Decorative Arts. Silpakorn University.

Bachelor of Education Program in Art Education. (2019). Faculty of Fine and Applied Arts. Srinakharinwirot University.

Bates, J. K. (2000). Becoming an Art Teacher. USA: Wadsworth/Thomson Learning.

Chaodee, J. (2002). Home management. Department of Human Relation Faculty of Humanities Chiang mai University. Chiang mai

Finley, F.N. (1983). “Science Process” Journal of Research in Science Teaching. 20(1): 47-54.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). Organizing learning subjects for science groups. Bangkok: National Institute of Educational Testing Service Office of the Basic Education Commission.

Lertpullpol, A. (2018). The Moral and the Situation of Common Sense. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Pholmool, J. (2015). The Development of Steam Integrated Learning Unit for Ninth Grade Students : Case Study at Wangtako Community in Chumphon Province. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Sithajan, B. (2017). Development of Art Instructional Package based on Steam Education Enhancing Creative Process for the Fifth Graders. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Sunthornnon, C. (2015). Aesthetics & Visual Arts. Bangkok: Drae Art.

Swangpol, S. (2009). Learning by Drawing. (2nd ed.). Bangkok: Department of Botany Faculty of Science, Mahidol University. Bangkok.

Thiengmit, N. (2016). A Study of Method of Comic Frame Linkage form Comics of Wisut Ponnimit, “Ching Cha 1”. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย