กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ของสำนักงานคุมประพฤติสามจังหวัดชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • นิวัติ เอี่ยมเที่ยง -
  • สืบพงศ์ สุขสม

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, สำนักงานคุมประพฤติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจกระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 3) เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 22 ท่าน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดเตรียมฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปใช้โดยใช้วิธีการหลากหลายเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับผลการวิจัยในครั้งนี้

ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ผู้บริหารสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1) มีรูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานคุมประพฤติดำเนินการสอดคล้องตามแนวคิดของอองรี ฟาโยล  2) ความคิดเห็นต่อกระบวนการทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ตามแนวคิดของออสบอร์นและเกบเลอร์ ในลักษณะที่เห็นด้วยและปัจจุบันมีกระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานคุมประพฤติที่สอดคล้องตามแนวคิดดังกล่าว 3) หลักคิดที่ใช้ในการพิจารณากระบวนทัศน์มี 4 มิติ คือ มิติด้านองค์การและบุคลากร มิติด้านภาวะแวดล้อม มิติด้านผู้รับบริการ และมิติด้านการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ผู้บริหารสำนักงานและผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นว่าทั้ง 7 องค์ประกอบกอบ ตามแนวคิด 7’S ของแมคคินซีย์ มีผลต่อการบริหารจัดการสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านรูปแบบการบริหารจัดการและด้านการบริหารบุคคเป็นสำคัญ แนวทางการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษา รวมรวบข้อมูล โดยยึดหลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักธรรมาภิบาล 10 ขั้นกำหนดกระบวนทัศน์ เน้นการผสมผสานการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารจัดการเชิงพุทธศาสตร์ ขั้นกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการตามแนวพุทธวิธีการบริหาร “POSDC” และขั้นการประเมินเพื่อพัฒนา ประเมินตามองค์ประกอบ 7’S ของแมคคินซีย์

References

Wangsri, K. (2012). The New Paradigm: Working Tools. from https://www.gotoknow.org/

Niamsiri, C. (2017). Effective Leadership in the Thailand 4.0 Era: A Case Study of Khon Kaen Province. National Defense College National Defense Course, Class 60.

Udomchoknamon, C. (2018). Buddhist Development Management. Journal of Humanities and Social Sciences. Ubon Ratchathani Rajabhat University. 9(2) (July - December.).

Rachaasa, T. (2016). The role of leaders in the new paradigm. Praewa Kalasin Academic Journal. 3(2) (May – August 2016).

Chatnitikul, N. and Mungmuang, S. (2020). “New public administration of the Ministry of Agriculture.and cooperatives in the supervision of cooperative credit unions.” Santi Suksa Review Journal, MCU.8(5), September-October, 133-1844.

Charoenphan, P. (2015). The Paradigm of Local Education Development of His Excellency Banharn Silpa-archa, the 21st Prime Minister of Thailand. Graduate School Academic Journal Suan Dusit University 13(2) (May – August 2017).

Chatchawan Chanchanakij, P. (2014). Human resource management and management efficiency of regional hospitals. Journal of Academic Social Sciences Office of Social Studies Chiang Rai Rajabhat University. 7(1) (October 2013 – January 2014).

Suebsiribut, W. and Suksom, S. (2021). “Development of electronic identification cards forReduce redundancy in dealing with the Thai government in the modern era.” Dhammathit Academic Journal. 21(4),October – December, 143-154.

Mungmuang, S.(2014).Management of foreign workers: case study Chiang Rai Province. School of Social Sciences, Chiang Rai Rajabhat University. Journal of Academic Social Studies, Year 7, Issue 2, February – May 2014 (pages 1-18)

Kesanuch, S. al. 2017. New government management: directions for setting the management paradigm. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nong Khai Campus. Thammasat Journal. 17(2) (May – August 2017).

Leksin, S (2018). Administrative efficiency of the administrators of the Subdistrict Administrative Organization, Nonthaburi Province. academic journal Thonburi University 12(28) (May - August 2018).

Prochaska, J. O., & DiClemente, C. C.1983. Stages and processes of self-change of smoking: Toward an integrative model of change. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 51(3), 390–395.

Thomas J. Peters and Robert H. Waterman, JR. (2004). In Search of Excellence. New York: HarperCollins.

Weber, J. (2008). A Leader’s Guide to Understanding Complex Organization: An Expanded 7-S Perspective. Available at SSRN: http://ssrn.com/abstract=910746.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย