การจัดการข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยคดีปกครองของศาลปกครองชั้นต้น

ผู้แต่ง

  • ชิษณุชา หมั่นถนอม -
  • สืบพงศ์ สุขสม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท คดีปกครอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยคดีปกครองของศาลปกครอง 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยคดีปกครองของศาลปกครอง และ3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยคดีปกครองของศาลปกครองชั้นต้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีพื้นที่เป้าหมายคือศาลปกครอง รวม 5 ศาล โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตุลาการศาลปกครอง หน่วยงานทางปกครอง และ ประชาชน รวม 25 ท่าน การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงการตีความเปรียบเทียบทฤษฎีแนวคิดนำเสนอด้วยการเขียนเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพข้อพิพาทที่จัดการด้วยการไกล่เกลี่ยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกคือ ก่อนประกาศระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 มีลักษณะเป็นการไต่สวนของตุลาการเจ้าของสำนวนเพื่อหาความชัดเจนของประเด็นข้อพิพาทและตกลงกันหากได้ข้อยุติคือการถอนฟ้องแต่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำตามข้อตกลงและระยะหลังประกาศระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 แล้ว มีขั้นตอน ระเบียบ และ การทำบันทึกข้อตกลงพิพากษาตามยอมถูกต้องตามกฎหมาย ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการละเลยล่าช้าและสัญญาทางปกครอง คู่กรณีส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น 2) การจัดการมี 2 ขั้นตอน คือ การรับไกล่เกลี่ยคดีและหยุดไกล่เกลี่ยคดี กับกระบวนการ ไกล่เกลี่ย เริ่มด้วยการเตรียมตัว การศึกษาสำนวนหลัก ประเมินทุกฝ่าย ข้อเสนอในประเด็น ทางเลือก และ ข้อตกลง ซึ่งสำนวนการไกล่เกลี่ยเป็นความลับ 3) รูปแบบเริ่มจากการฟ้องคดี ศาลจะพิจารณา คัดกรอง ถามความสมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ถ้าสำเร็จจะจัดทำบันทึกข้อตกลงพิพากษาตามยอม

References

Administrative Court. (2019). Report on the performance of the Administrative Court and the Office of the Administrative Court for the year 2019. Retrieved October 28, 2021.From https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/ReportYear/ReportYear _261120_110144.pdf.

Dokthaisong, B., Suksom, S., Chatchanthaphat, Ch., and Sanwonglark, Ch. (2022). Differences and Similarities of Shan Immigrants from Shan State and Kengtung State along the northern border of Thailand. International Journal of Early Childhood Special Education. 14(3) 4843-4850.

Dunnette, M. D., & Hough, L. M. (Eds.). (1991). Handbook fo Industrial and Organizational Psychology (2nd ed.). Consulting Psychologists Press.

Feng, J. & Xie, P. (2020). Is Mediation The Preferred Procedure in Labour Dispute Resolution Systemes? Evidence From Employer-Employee Matched Data in China. Journal of Industrial Relation, 62(1), 81-103. Retrieved October 24, 2022. from https://doi.org/10.1177/ 0022185619834971.

Marx, K. & Engels, F. (1904). The Manifesto of the Communist Party. New York: International Publishers, [C1948].

Nakdilok, L., and Kanaphum, S. (2017). The concept of mediation to settle criminal disputes in court. Research and Development Institute Journal Maha Sarakham Rajabhat University, 4(2), 61-75.

Suthiwasinnon, P., and Phasunon, P. (2016). Sample Selection Strategies for Qualitative Research. Parichart Journal Thaksin University, 29(2), 31-48.

Suksom, S. (2020). Policy on the development of economic zones in Chiang Rai Province. academic journal North Bangkok University, 9(2), 166-175.

Tosawat, P. (2015). Mediation of disputes in the Administrative Court. Personal Academic Documents National Defense College. Retrieved October 7, 2021, From http://www.dsdw2016. dsdw.go.th/ doc_pr/ndc_2560-2561/ 8473p.html.

Ua-Amnuai, J. (2013). A research project on the root causes of conflict to a solution for reconciliation. Bangkok: Independent Audit and Truth Committee for National Reconciliation (COP).

Wiegand, K., Rowland, E. & Keels, E. (2020). Third-Party Knowledge and Success in Civil War Mediation. The British Journal of Politics and International Relations, 23(1), 3-21. https://doi.org/10.1177/ 1369148120930674.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

หมั่นถนอม ช., & สุขสม ส. . (2023). การจัดการข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยคดีปกครองของศาลปกครองชั้นต้น. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 152–162. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/262134

ฉบับ

บท

บทความวิจัย