การศึกษาประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารชาวต่างชาติต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการ ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มนต์ชัย คล้อยแสงอาทิตย์ -
  • ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การเดินทาง, ผู้โดยสารชาวต่างชาติ, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารชาวต่างชาติต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารชาวต่างชาติต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาปัญหา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดบริการของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญและแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามฉบับภาษาอังกฤษที่มีโครงสร้างแน่นอน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดบริการของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ ที่ผู้โดยสารชาวต่างชาติมีประสบการณ์การเดินทางอยู่ในระดับดี คือ ด้านผลิตภัณฑ์ บุคลากร กระบวนการ ผลิตภาพ การจัดจำหน่าย ลักษณะทางกายภาพ และราคา ตามลำดับ ในขณะที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้โดยสารชาวต่างชาติมีประสบการณ์การเดินทางอยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารชาวต่างชาติต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ จำแนกตามภูมิลำเนา ต่างกัน ในด้านราคา จำแนกตามวีซ่า ต่างกัน ในด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ และผลิตภาพ จำแนกตามประเภทที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ต่างกัน ในด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด กระบวนการ และผลิตภาพ อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหา และแนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดบริการของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ พบว่า ควรมีระบบตั๋วร่วมโดยสารใบเดียวสำหรับรถไฟฟ้าทุกสาย รวมถึงรถและเรือโดยสารได้ ควรเพิ่มความถี่ของขบวนรถไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วน ควรมีโครงสร้างอัตราโดยสารที่เหมาะสมกับแต่ละรูปแบบการเดินทาง

References

Gartner. (2019). Gartner’s 5 levels of Customer Experience. Retrieved June 25, 2022, from http://bohamrick.com/gartners-5-levels-of-customer-experience/

Hamza Imhimmed Mohamed Irtemaa, Amiruddin Ismail, Muhamad Nazri Borhan, Amsori Muhammad Das and Abdurauf B.Z. Alshetwia. (2018). Case study of the behavioural intentions of public transportation passengers in Kuala Lumpur. Case Studies on Transport Policy, 6, 462-474.

Kloisaengarthit, M. (2022). The Behavior and Satisfaction of Foreigners toward Traveling by Mass Rapid ransit System in Bangkok (Master’s Independent Study). Bangkok: University of Phayao

Kotler, P. and Keller, K. L. (2003). Marketing Management (11 ed., pp. 360). Upper Saddle River, New Jersey: Rearson Education.

Mass Rapid Transit Authority of Thailand. (2022). MRTA Annual Report 2021. Mass Rapid Transit Authority of Thailand. Retrieved June 21, 2022, from https://shorturl.asia/YdcN4

Ministry of Transport. (2015). History of Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA). Ministry of Transport. Retrieved June 20, 2022, from https://shorturl.asia/e0VMD

Ministry of Tourism & Sports. (2020). Domestic Tourism Statistics Q1-Q4 (Classify by region and province). Ministry of Tourism & Sports. Retrieved June 24, 2022, from https://www.mots.go.th/news/category/618#

Norasan C., and Seeboonruang, U. (2019). The Study of Travel Behavior in Bangkok for Elderly Travelers. The Engineering Institute of Thailand under H.M. The King’s Patronage, 2019. 30(4), 19.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Tourism and Sports. (2020). The Preparation of KPIs Project for the Qualitative Tourism Economic Conditions and the Thai and Foreigner

Tourists’ Attitude and Satisfaction on Traveling in Thailand Survey, Fiscal Year 2019. Ministry of Tourism and Sports. Retrieved June 24, 2022, from https://shorturl.asia/C23xn

Petison, P., Leawrungruang C., Kiatrungruangdee S., and Sanyawut, W. (2011, September). Customer Experience Management. Marketing & Branding for Quality, 18, 94.

Pummanee, T. (2001). Tourism Industry Management. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Sathapongpakdee, P. (2018). Mass Transit System Service Business. Krungsri.Retrieved June 20, 2022, from https://shorturl.asia/0NBgT

Siam Commercial Bank PCL. (2022). How to Approach Expat. Siam Commercial Bank PCL. Retrieved June 17, 2023, from https://shorturl.at/dlnG3

Silpcharu, T. (2006). Research and Statistical Analysis with SPSS (5th ed.). Bangkok: V. Inter Print.

Smithikrai, C. (2010). Consumer Behavior (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Sukhothai Thammathirat Open University. (2016). Marketing Concepts and Marketing Tools. Retrieved June 24, 2022, from https://shorturl.asia/cI2bG

The Parliamentary Budget Office, The Secretariat of The House of Representatives. (2020). The Guidelines for the Country’s Transportation System Development. Bangkok: Author

The World Tourism Organization (UNWTO). (2020). GLOSSARY OF TOURISM TERMS. UNWTO. Retrieved June 25, 2022, from https://www.unwto.org/glossary-tourism-terms

Wanwanich, Y. (2008). Service Marketing (3rd ed.). Bangkok: Kasetsart University.

Wongkangwan, A., Pungnirund, B., Saensuk, W., Treetosakul, P., Thanasrisuebwong, A. and Techarattanased, N. (2019). Antecedent and Loyalty of Foreign Tourists for Tourist Attractions in Bangkok Metropolitan Area. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 5(1), 85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย