การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ วงษ์เลี้ยง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, พิพิธภัณฑ์, การคิดทางประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่  นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านยางเมือง จังหวัดสุโขทัย ภัณฑารักษ์ กลุ่มครูผู้มีประสบการณ์ และกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 31 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แนวคำถามเชิงลึก 2) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ ด้านหลักการจัดการเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ วิธีการจัดการเรียนรู้มีการใช้การบรรยาย การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ และใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน ด้านบทบาทผู้สอน พบว่า ผู้สอนควรมีการเตรียมการสอน มีทัศนคติที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียน ด้านผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ฟัง และมองว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัว ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียน 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ พบว่า พิพิธภัณฑ์ควรเป็นแหล่งวิทยาการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การใช้กระบวนการตั้งคำถาม การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น ผู้สอนควรวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของพิพิธภัณฑ์ ออกแบบกิจกรรมระหว่างเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์และผู้สอน ส่วนผู้เรียนควรมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรม การตั้งคำถาม การสืบค้นข้อมูล และสามารถสรุปองค์ความรู้ให้ได้ด้วยตนเอง

References

Baron, C. (2010). Encouraging Historical Thinking at Historic Sites. Boston University.

Dumcha-om, N., (2010). The Effect of 5E Inquiry Approach and Implementing Historical Method of Matthayomsuksa Students on Achievement in Historical Learning and Critical Thinking. Master Thesis, Srinakharinwirot University.

Educational Council, Office. (2021). the study of historical teaching conditions in basic education. Retrieved on 15 April 2022. http:// www.onec.go.th/th.php/book/

Kanoksinlapatham, H., Patphol, M., Wongyai, W., and Wattananarong, A. (2020). Development of Factors and Behaviors Indicating Historical Thinking of Secondary School Students. Journal of Graduate Studies ValayaAlongkorn Rajabhat University, 14(2), 194-214.

Laksana, K. (2016). Historical thinking development: Thinking about historical significance. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, 12(2), 136-158.

Mahji, S., Kotcharat, J., and Boonprakarn, K. (2020). Situations and problems in learning History Lesson for Grade 4 Students in Private Schools under the Office of Huasai District Education, Nakhon Si Thammarat Province. In The Eleventh Hatyai National and International Conference (pp. 639-649). Songkhla: Hatyai University.

Pana, S. (2019). A Study and Analysis of Guidelines for Promoting Historical Thinking Skills of Pre-Service Teachers in Social Studies. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University, 22(1), 137-151.

Paris, S. and Hapgood, S. (2002). Children Learning with Objects in Informal Learning Environments in Paris, S. (ed.) Perspectives on Object-Centered Learning in Museums. Mahwah, NJ: Lawrence Erbaum, 37-54.

Pleumsamrungit, P. and Wilaikum, S. (2018). Museum: Learning Resources for Developing Learners in 21th Century. T.L.A. Bulletin, 62(1), 43-67.

Kowtrakul, K. (1998). Educational Psychology (4thed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Tosila, C. (2012). Development of instructional process by using Historical method to enhance historical thinking skills of eighth grade student. Doctoral dissertation, Chulalongkorn University.

Validom, S. (2018). Museums and Local History: The Process of Collaborative Learning (2nded.). Bangkok: Lek-Prapai Viriyahpant Foundation.

VanSledright, B. A. (2010). The challenge of rethinking history education: On practices, theories, and policy. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย