การพัฒนากลยุทธ์สินค้าน้ำตาลมะพร้าวเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง การจัดการชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี โสระเวช -
  • สัคพัศ แสงฉาย, ตรัยคุณ รอดเกษม และ ชิสากัญญ์ ปภาพันธ์เกียรติ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนากลยุทธ์; , น้ำตาลมะพร้าว;, การจัดการ; , ชุมชนพึ่งตนเอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสินค้าน้ำตาลมะพร้าวในชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม และพัฒนากลยุทธ์สินค้าน้ำตาลมะพร้าวเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการจัดการชุมชนพึ่งตนเองจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน ได้แก่บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารส่วนตำบลและอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวมรวมข้อมูลการใช้แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลคือบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่จำนวน 30 ฉบับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีขอบเขตการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าน้ำตาล ด้านการจัดการ ด้านชุมชนเข้มแข็ง ด้านชุมชนพึ่งตนเอง และด้านชุมชนเชื่อมโยง

จากผลการวิจัยได้พบ กลยุทธ์การจัดการชุมชนพึ่งตนเองมี 5 กลยุทธ์ คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาไทยตามแนวทางเกษตรอินทรีย์  2) การส่วนร่วมในการบริหารจัดการ พัฒนาสินค้าและการขายแก่ผู้ขายรายอื่นๆเพื่อการสร้างแบรนด์สินค้า3) การสร้างผู้นำชุมชน การรวมกลุ่มจำหน่ายสินค้าให้มีมาตรฐาน 4) การรวมกลุ่มผู้ประกอบการเป็นรัฐวิสาหกิจชุมชน และ 5) การประสานชุมชนให้มีส่วนร่วมในการ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบต่างๆ ข้อค้นพบที่ได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาไทย การบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมสร้างผู้นำชุมชน เกิดองค์ความรู้สู่ชุมชน

References

Wongsrikaew, K.(2017). Strong community development: A case study of Poon Bamphen community, Phasi Charoen District, Bangkok. Journal of Community Development and Quality of Life. 5(1), 46-57.

Kaewthep, K. (2010). Participatory folk culture management through research innovation. Bangkok: Print.

Sorawet P. et al. (2022) Pracharat and the development of proactive community relations strategies to promote safe communities. In the Amphawa District area Samut Songkhram Province, Year 8, Issue 3(2022):March 2022.149-162

Chokaew, W. (2017). Developing villages to have a stable economic base and a self-reliant community. Case study: Khok Ko Village, Village No. 1, Makham Lom Subdistrict, Bang Pla Ma District. Suphan Province

Banjongthitithan, S. (2017). Guidelines for sustainable self-reliant community management. Case study of Ban Hua Khu Phraya Banlue Subdistrict Lat Bua Luang District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

Wongsrikaew, S.(2017). Strong community development: A case study of Poon Bamphen community, Phasi Charoen District, Bangkok. Journal of Community Development and Quality of Life. 5(1), 46-57.

Samut Songkhram Provincial Office. (2018). Samut Songkhram Provincial Development Plan 2018-2022. Retrieved 22 July 2021, from http://www.samutsongkhram.go.th/V2013/

Office of Agricultural Economics. Operational manual for driving national development according to the Thai Niyom Project Sustainability of the Ministry of Agriculture and Cooperatives. Bangkok. 2018

Strategic Management Office, Lower Central Provinces Group 2.(2017).Development plan for lower central provinces group 2 2018 - 2021 (Samut Sakhon, Samut Songkhram, Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan provinces). Retrieved 22 July 2021, from http://www.osmcentral-s2.moi.go.th/main/wp-content/uploads/2019/09/7

Chulathap, S.(2015) . Proactive public relations strategies of higher education institutions. Southern Geographic Area. Surat Thani Rajabhat Journal. 2(2), 157-174.

Weeraphanpong, A. (2014) .Factors influencing community self-reliance: A case study of Khlong Lat Mayom community, Taling Chan District, Bangkok.

Nikornwat, A. et al.(2017). Factors affecting the well-being of Suan Sunandha Rajabhat University personnel at work .(Research report).Suan Sunandha Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย