ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ เพชรแอน

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2)วิเคราะห์ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและ 3)เสนอแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรได้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 689,069 คน หาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 17 คนได้แก่ 1)ผู้นำท้องถิ่น/ชุมชน จำนวน 4 คน 2)นักวิชากร จำนวน 4 คน  3)เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 คน 4)นักการเมือง จำนวน 3 คน 5)สื่อมวลชน จำนวน 3 คน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามตัวแปร สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐและมีค่าเฉลี่ยมากสุด รองลงมาคือ ด้านการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารการเมือง ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะและกิจกรรมของพรรคการเมือง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ปัจจัย 3 ด้านได้แก่ ด้านจิตวิทยาทางการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง และด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดพิษณุโลกได้ ร้อยละ 76.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก ต้องดำเนินการดังนี้ 1)ส่งเสริมความรู้การมีส่วนร่วมทางการเมืองกับประชาชน 2)ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองประชาธิปไตย 3)ต้องใช้วิถีชุมชนปลูกฝั่งวัฒนธรรมประเพณี และ 4)สร้างพลังชุมชนในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม

References

Phitsanulok Provincial Election Commission, information on the exercise of rights to elect members of the House of Representatives, Phitsanulok Province. 17 December 2019.

Photsuk, B., (2015). People's participation in local politics: a specific study of Chang Phueak Subdistrict, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province, Mahachulalongkornrajavidyalaya University Research Fund Support Project.

Teerawekin, L,. (2010). Politics and government of Thailand. 8th edition (revised edition). Thammasat University Press, Bangkok.

Khanrung, W., (2010). Political participation of people at the local municipal level in Nonthaburi Province, Doctor of Human Resource Development thesis, Pathum Thani University.

Yamane, Taro. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย