กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์สู่การปฏิบัติของพระสังฆาธิการ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระอธิการเยียรยง โนนกอง มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์; , นโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์; , การปฏิบัติ .

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับกลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์ 2) วิเคราะห์ปัจจัยการขับเคลื่อนการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์สู่การปฏิบัติของพระสังฆาธิการในเขตจังหวัดระยอง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ พระภิกษุในพื้นที่เขตการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (มหานิกาย) 2,521 รูป จำนวน 333 คน สัมภาษณ์ผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับอำเภอ ระดับตำบล จำนวน 10 รูป และหัวหน้าหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน รวม 16 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .95 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

        ผลการวิจัยพบว่า1) ศึกษาระดับกลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้านได้แก่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยมากสุด รองลงมา ด้านสาธารณูปโภค ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา และด้านการศึกษาสงเคราะห์ 2) วิเคราะห์ปัจจัยการขับเคลื่อนการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ส่งผลต่อกลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์ปัจจัย ด้านโครงสร้าง ด้านระบบงาน ด้านรูปแบบการบริหารและ ด้านบุคลากรส่งผลต่อกลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้ร้อยละ 72.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์สู่การปฏิบัติของพระสังฆาธิการคือ (1) จัดตั้งคณะกรรมการ ทำงานเชิงรุก จัดประชุมหาข้อสรุปด้วยความรวดเร็ว (2) ทำวัตรเช้า/เย็น ควรประชุมอบรมก่อน 10-15 นาที (3)ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัด “วัดคือสมบัติของชาวบ้าน” (4) ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และ (5) ยึดศรัทธาชาวบ้านในการอยู่ร่วมกัน

References

Chaiyakul, S., and Saengthong, J., (2011). “The role of the Sangha Administrator towards the development of religious education and welfare education in Phayao Province”. Research report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Kamphirapañño, W.,. (2012). “An analytical study of the 5 precepts as the foundation of peace”. Doctor of Buddhist Studies degree. Department of Buddhism. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Dhammakosajarn (Prayoon Dhammajitto). (2006). Buddhist management methods. Bangkok : Maha Chulalongkornrajavidyalaya Printing House : Page 3.

Phrakru Phawanasophit (Boonrat Muangwong). (2010). “Management of the propagation of Buddhism in Lanna”. Doctor of Philosophy degree. Field of study: Human Resource Development Management. Graduate School: Pathum Thani University.

Phrakru Uthaikitpipat (Wirat Suk-in). (2011). “A study of the leadership of the Sangha of Uthai Thani Province according to the principles of Sappurisadham 7”, Master of Buddhist Science degree. (Public Administration field). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sangha Act, B.E. 2505, Sangha Act (Edition No. 2) B.E. 2535 and the Sangha Rules No. No. 23

Thaworndhammamo, R., (2011) “Management of Sangha affairs to be a learning center for the Phai Lom Temple community. Chanthanimit Subdistrict Mueang Chanthaburi District Chanthaburi Province”. Research report . Academic Resources Unit, Faculty of Social Sciences, Wat Phai Lom (Phra Aram Luang). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย