การพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสให้เป็นพลังเครือข่าย ชุมชนสร้างสรรค์ของเวียงป่าเป้า
คำสำคัญ:
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต,, กระบวนการร่วมสร้างสรรค์,, พลังเครือข่ายชุมชน, , ชุมชนสร้างสรรค์, , เวียงป่าเป้าบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง และหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน 2) สร้างพลังขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนสร้างสรรค์ของเวียงป่าเป้า โดยการเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสกับเครือข่ายชุมชนโบราณของเวียงป่าเป้าอีก 7 ชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการศึกษาเรียนรู้ของชุมชนในอนาคต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานและแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบกระบวนการร่วมสร้างสรรค์ระหว่างคนกับสถาปัตยกรรม โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตุเป็นเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแปลผลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์บริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของชุมชนเวียงป่าเป้ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเข้ามาของคนนอกพื้นที่เพื่อมาลงทุนกับทรัพยากรทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดการขาดความสมดุลทางแหล่งน้ำตามธรรมชาติในชุมชน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งคนในชุมชนทราบถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและมีความพยายามอยากปรับเปลี่ยนให้ชุมชนกลับมาเป็นชุมชนที่เกื้อกูลกันเหมือนในอดีต โดยมีวัดศรีสุทธาวาสเป็นแหล่งรวมใจหลักของคนในชุมชนในการเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนา ปรับปรุงชุมชนให้สามารถอยู่ได้ตามสถานการณ์ปัจจุบันและ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าเกื้อกูลอีกครั้ง โดยแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา คือ แนวทางการจัดการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน โดยอาศัยกระบวนการร่วมสร้างสรรค์ของคนในชุมชน สถาปัตยกรรม และธรรมชาติแวดล้อมด้วยรูปแบบแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต 2) การสร้างพลังเครือข่ายชุมชนสร้างสรรค์เป็นตัวขับเคลื่อนเวียงป่าเป้าเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสกับเครือข่ายชุมชนโบราณของเวียงป่าเป้าอีก 7 ชุมชน มีแนวคิดให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่เป็นกำลังขับเคลื่อนหลัก โดยรวบรวมนำเสนอออกมาให้เห็นเป็นรูปประธรรมในลักษณะแผนผังการพัฒนาเพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นภาพร่วมกันในทิศทางเดียวกัน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป
References
Ash, DB., Lombana, J., Alcala, L. (2012) Changing practices, changing identities as museum educators: From didactic telling to scaffolding in the zpd. In: Davidsson E, Jakobsson A. (eds) Understanding Interactions at Science Centers and Museums: Approaching Sociocultural Perspectives. Rotterdam: Sense Publishers, pp. 23–44.
Boonyasurathana, W., Rittidej, S., and Teams (2016). Wat Ket Karam Museum Project to be part of the living museum in Wat Ket area. BANGKOK: TRF AND CMU RDG58N0038.
Duangsamran, K. (2019). Creative space design A case study of Rajamangala University of Technology Tawan-Ok Uthenthawai Campus. Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 4 No. 2 (May - August 2019).
Gotiram, C. and Chanphensr, S. (2022). Study of the tourism community based on culture: Koakkeak community Bankba-in district Ayutthaya province. Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 7 No. 1 (January - March 2022).
Hooper-Greenhill, E. (1999) Museum learner as active postmodernists: Contextualising constructivism. In: Hooper-Greenhill E. (ed.) The Educational Role of the Museum, 2nd edn. London: Routledge, pp. 67–72.
King, H. (2009) Supportive natural history enquiry in an informal setting: A study of museum explainer practice. Unpublished PhD Thesis, King’s College London, London.
National Science and Technology Development Agency (2005) Research Report: Development of National Policy to Promote Public Awareness and Interest in Science and Technology. Bangkok, Thailand: National Science and Technology Development Agency.
Makapol, J. (2013). Approach to promote creative community in Thailand (Ph.D). Bangkok: Silpakorn University.
Pharcharuen, W., Saengsupho, S., Tantar, T., Saithi, S., Techatanminasakul, S., and Charoenphon, K. (2020). Public Participation in Local Development: A Case Study of Mae Pong Municipality, Doi Saket, Chiangmai Province. Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 5 No. 1 (January - April 2020).
Prahalad, C. K., & Ramaswamy, V. (2000). Co-opting Customer Competence. Harvard Business Review, 78(1), 79 - 90.
________. (2002). The Co-creation Connection. Strategy and Business, 27(2), 50 - 61.
________. (2004). Co-creation Experiences: The Next Practice in Value Creation. Journal of Interactive Marketing, 18(3), 5 – 14.
Rattanapong, S., Srisuksai, N., Intagoon, K., Pradipatnaruemol, C. and Kodkong, N. (2021). Community based tourism management in Wang Thong subdistrict, Wang Thong district, Phitsanulok province. Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 6 No. 1 (January - April 2021).
Scharmer, C. Otto (2007). Theory U: Leading from the Future as it Emerges. Cambridge, MA.: The Society for Organizational Learning Press.
Sinprasert, W. (2012). A study of value and establishing process of local museum as a community's learning center: a case study of the Ban Khubua Miscellaneous Museum at Muang district of Ratchaburi province. Master’s Thesis. Silpakorn University: Faculty of Education, Department of Elementary Education.
Thapatiwong, A. (2011) An empirical analysis of national culture and performance-related pay in multinational and local companies in Thailand. Unpublished PhD Thesis, Cardiff University, Cardiff.
Wongchalee, S. (2007) Shifting paradigm regarding illness and medical practices in Thai society. Asian Biomedicine 1(4): 429–433.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.