รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (เมืองเกษมพงสี) มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ;, การพัฒนาคุณภาพชีวิต; , ผู้สูงอายุ;

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านชุมชน ปัจจัยด้านองค์กร และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 432 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาวะทางร่างกาย อยู่ในลำดับที่ 1 รองลงมา ด้านภาวะทางจิตใจ และด้านภาวะทางความสัมพันธ์ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย ร่วมรับผลประโยชน์จากการดำเนินการ ความสามัคคี ร่วมตรวจสอบและติดตามผล ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกร่วม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 57.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นลักษณะของกระบวนการพัฒนาที่ครอบคลุมวัฏจักรการพัฒนาตามหลักสุขภาวะองค์รวมที่ประกอบด้วย ภาวะทางร่างกาย ภาวะทางจิตใจ ภาวะทางความสัมพันธ์ทางสังคม และภาวะทางสิ่งแวดล้อม   

References

Kijjasaro, s. (2010). The application of Buddhist principles in daily life of the elderly in Ban Wa sub-district, Muang district, Khon Kaen province. Research Report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Lazarus, R.S. and S.Folkman. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Spring Publishing Company.

Nillert, S. (1996). The relationship between child adoption and the quality of life of the elderly in rural Thailand. Suphanburi Province. Research report. Mahidol University.

Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health. (2009). “Elderly Information”. (reproduce).

Siriboon, S et al. (1998). Evaluation of a pilot project to establish a service center for the elderly. Institute of Demography Chulalongkorn University.

Soonthornthada, K. (1996). A turning point in Thailand's population policy. Bangkok: Research Support Fund.

Yusako, S. (2007). Self-care behaviors of the elderly in the Elderly Club of Tha Ruea Municipality - Phra Thaen District. Tha Maka, Kanchanaburi Province. Master of Education Thesis Department of Development Studies. Graduate School: Silpakorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย