กลวิธีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาในธรรมบรรยายสำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์ ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

ผู้แต่ง

  • ธนิดา พิมทะโนทัย
  • วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
  • บุญเลิศ วิวรรณ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาพพจน์อุปมา,, ธรรมบรรยาย, , บรรพชิต,, คฤหัสถ์, , พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการใช้ภาพพจน์อุปมาในธรรมบรรยายของ         พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) 2) ศึกษาเปรียบเทียบภาพพจน์อุปมาในธรรมบรรยายของพระโพธิญาณเถร    (ชา สุภทฺโท) สำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ศึกษากลวิธีทางภาษาในธรรมบรรยายของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลมาจากหนังสือธรรมบรรยายของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) จำนวน 67 เล่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลวิธีการใช้ภาพพจน์อุปมาที่พบมีลักษณะโดดเด่น โดยลักษณะการใช้ภาพพจน์อุปมาสำหรับบรรพชิต มีการเปรียบเทียบระหว่างนามธรรมกับรูปธรรม และรูปธรรมกับรูปธรรม เช่น ใจเหมือนกับเสือ, จิตใจเหมือนกับใบไม้, ความทุกข์เปรียบประหนึ่งเสี้ยนหรือหนาม, การปฏิบัติภาวนาเหมือนกับจับปลา เป็นต้น ส่วนลักษณะการใช้ภาพพจน์อุปมาสำหรับคฤหัสถ์ มีการเปรียบเทียบระหว่างนามธรรมกับรูปธรรม และรูปธรรมกับรูปธรรมเช่นเดียวกัน เช่น จิตใจเปรียบเหมือนมีด, ศาสนาเปรียบประหนึ่งเกลือ, สังขารเปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง, สังขารเปรียบประหนึ่งสิ่งของเครื่องใช้, ชีวิตคนเหมือนผลไม้ เป็นต้น 2) ผลการเปรียบเทียบภาพพจน์อุปมาสำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์ อุปมาแบบนามธรรมกับรูปธรรมสำหรับบรรพชิต นามธรรมเน้นเรื่องจิตใจ ความสุขและความทุกข์ เพื่อให้บรรพชิตได้พิจารณาถึงสิ่งที่ไม่มีรูป รู้ได้เฉพาะทางใจให้ลึกซึ้ง เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นปัญหาได้อย่างกระจ่าง หมดความสงสัยในปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับคฤหัสถ์นามธรรมเน้นเรื่องพระพุทธศาสนาและหลักธรรมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำไปศึกษาและปฏิบัติให้ได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนการเปรียบเทียบภาพพจน์อุปมาแบบรูปธรรมกับรูปธรรมสำหรับบรรพชิต รูปธรรมเน้นเรื่องการปฏิบัติธรรมที่ต้องยึดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำหรับคฤหัสถ์ รูปธรรมเน้นเรื่องสังขารและชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน ในส่วนรูปธรรมที่นำมาเปรียบทั้งหมดจะเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว  คนส่วนใหญ่รู้จักและเคยมีประสบการณ์มาก่อน ทำให้สามารถสร้างมโนภาพ เข้าใจเรื่องธรรมะได้ชัดเจนและง่ายขึ้น

References

Dontaolek, S. (2014). Language strategies and content in dharma lectures by Ajarn Boonserm

Thammapalo. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.

Kuisuwan, K. (2010). Discourse on the teachings of Buddhadasa Bhikkhu. (Doctoral Dissertatioin). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Mahamakut Wittayalai. (1994). Tripitaka and translation. (3th ed). Bangkok: Mahamakut Wittayalai Printing House.

Phra Bodhiyanathera (Cha Subhaddo). (2004). Still flowing water. Bangkok: N.P. Screen

Printing Co., Ltd.

________. (2005). Basic Meditation. (2th ed). Ubon Ratchathani: Ubonkit Offset Printing Ltd.

________. (2011). Bodhiyan. (5th ed). Bangkok: October.

________. (2012). Three Flavors of Mango. (2th ed). Bangkok: Q Print Management Ltd.

________. (2012). Reverend Father Cha talks to his children. (3th ed). Bangkok: TQP Ltd.

________. (2012). Beyond the cause above the effect. (8th ed). Bangkok: N.P. Printing and Packaging Co., Ltd.

________. (2012). Above all. (4th ed). Bangkok: Q Print Management Co., Ltd.

________. (2014). Practice or practice. Ubon Ratchathani: Siritham Offset.

________. (2015). Read nature's mind. Bangkok: October.

________. (2015). 48 Preaching. (7th ed). Bangkok: Rungsilp printing.

________. (2016). Key of Phawana. (6th ed). Nonthaburi: Mata printing.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2006). Buddhist Methods of Teaching. Bangkok : Company Printing House Sahathamik Co., Ltd.

PhraMaha Amornwit Chakornmethi (Buddhasarn). (2004). A Study of Ajahn Cha's Techniques in Propagating Buddhism. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

PhraMaha Thongsuk Panyawanno. (2017). An Analysis of the Importance of Using Parables for Dharma Media Appears in the Scriptures of Opam Paragraph. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

PhraMaha Somphon Apakaro (Lao Smart). (2005). A Study of The Simile Discussion of Phra Bodhiyanathera. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Thammakittiwong (Thongdee Suratecho). (2008). Dictionary for Buddhist Studies Temple words. Bangkok: The Dharma Council and the Banluetham Institute.

Pinitpuwadol, S. et al. (1971). Writing and Speaking. Bangkok: printing house Ramkhamhaeng University.

Royal Institute. (2002). Dictionary of English-Thai Literature Terms. Bangkok: Royal Institute.

Royal Institute. (2013). The Royal Institute's Dictionary 2011. (2th ed). Bangkok: Nanmee Book Publications Co., Ltd.

Srichinda, S. (2010). The use of language rhetoric for the propagation of the Dharma of PhraMaha Wuttichai through mass communication. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Suwanchomphu, C. (1997). Language and communication. Bangkok: Silpakorn University.

Thaiupoon, D. (2000). Thai writing skills. Bangkok: Chulalongkorn Printing House University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย