พัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นภายใต้รัฐราชการไทย

ผู้แต่ง

  • ฒาลัศมา จุลเพชร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปกครองท้องถิ่น, , การกระจายอำนาจ,, รัฐราชการ

บทคัดย่อ

การปกครองท้องถิ่นไทยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2440 โดยการจัดตั้งสุขาภิบาล และกรุงเทพมหานคร      การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะแรกมีลักษณะเป็นการปกครองท้องถิ่นโดยข้าราชการประจำซี่งมุ่งเน้นการสั่งงานและการควบคุมการบริหารงานโดยรัฐบาลกลาง ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ส่งผลให้แนวคิดการปกครองตนเองได้รับความสำคัญมากขึ้น และมีการแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกำหนดให้ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเกิดการแบ่งแยกอำนาจการปกครองท้องถิ่นอย่างชัดเจน และทำให้เกิดเสถียรภาพในการดำเนินงานของฝ่ายบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.2554 เกิดข้อเสนอเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่จังหวัดและชุมชนภายใต้แนวคิด “จังหวัดจัดการตนเอง” เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง และจัดทำร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุรัฐประหาร พ.ศ. 2557 รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารได้เพิ่มอำนาจการบริหารให้ราชการส่วนภูมิภาคมากขึ้นในการเข้าไปแทรกแซงการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเลื่อนการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นออกไป บทความนี้เขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นภายใต้รัฐราชการไทย โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่ ความเป็นไปได้ที่จะกำหนดทิศทางในอนาคตของการกระจายอำนาจนั้น ขึ้นอยู่กับบริบททางการเมืองของประเทศไทย จะเห็นได้ชัดเจนว่า หากประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง จะเปิดโอกาสให้แก่การเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม ซึ่งเอื้อต่อการสนับสนุนร่างกฎหมายในเรื่องจังหวัดจัดการตนเองตามที่ภาคประชาสังคมเคยเสนอมา  

References

Kesboonchoo Mead, K. (2019). The rise and decline of Thai absolutism. Nonthaburi : Sameskybooks.

King Prajadhipok's Institute. (2018). Decentralization Report 2017. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Mektrirat, N. (2009). Report on the Progress of Decentralization Process in Thailand and Recommendations, under Local Government Units’ Capacity Building for Supporting Decentralization and Local Good Governance Project. Bangkok : UNDP.

Nethipo, V. (2019). Thailand's Politics of Decentralization : Reform and Resistance before and after the May 2014 Coup. In After the Coup : The National Council for peace and Order Era and the Future of Thailand. (pp. 224-253). Singapore: ISEAS Publishing.

Office of the Civil Service Commission. (2015). Administrative system of the Kingdom of Thailand. Nonthaburi : OCSC.

Purimart, P. (2021). Political Dynamic and Political Culture Reinforcement in Democratic System of Local Politicians. Journal of MCU Buddhapanya Review, 6(1), 120-130.

Samudavanija, C. (2011). 100 years of bureaucratic reform: the evolution of state power and political power. Bangkok : P.Press.

Secretariat of the House of Representatives. National Council for Peace and Order. Retrieved http://library2.parliament.go.th/giventake/ncpo.html.

Sriram, N., Metasuttirat, J., & Limmethee, A. (2017).Budget Allocation to Local Government : Increase or Decrease of Local Financial Autonomy, Journal of Liberal Arts. Ubon Ratchathani University, 13(2), 191-216.

Sukkasem, T. (2013). Teaching Documents on Thai Politics and Governance. Phetchabun : Phetchabun : Phetchabun Rajabhat University.

Suvanamongkol, P. (2021). Turning Back, Looking Forward at Decentralization of the Thai State: A Dim Light at the End of the Tunnel. King Prajadhipok's Institute Journal (September 2021 - December 2021) Vol. 19 No. 3 (2021), 119-136.

Suwanmala, C. (2013). Go Beyond Hamilton Paradox Trap: To Self-governing Province.Bangkok:

Chulalongkorn University Press.

Tanchai, W. (2014). Decentralization and Democracy in Thailand. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.

Teerawakin, L. (2007). Evolution of Politics in Thailand. Bangkok : Thammasat Press.

Varasunant, T., Bodeerat, C. (2021). The People’s Participation in Making Local Development Plans of Bangrakammuangmai Sub-District Municipality in Bangrakam District, Phitsanulok Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 6(2), 52-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ