รูปแบบศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลท้องถิ่นร้อยแก่นสารสู่สังคมสูงวัย

ผู้แต่ง

  • ยุวเรศ หลุดพา -
  • มนตรี โสคติยานุรักษ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ศักยภาพองค์การ, , สมรรถนะ, , ความร่วมมือ, , การบริหารจัดการด้านผู้สูงอายุ,

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารองค์การ สมรรถนะ และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์ เพื่อนำไปสู่การศึกษาศักยภาพองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในด้านการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ และเป็นกรอบการวิจัยในการศึกษา โดยมีพื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่นและ มหาสารคาม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วตำบล ปลัดตำบล ผู้อำนวยกองสวัสดิการและสังคม และบุคลากร ได้แก่ พัฒนากร และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ร้อยแก่นสาร จำนวน 15 องค์การ โดยคัดเลือกจากองค์การที่เคยได้รับรางวัลด้านการบริหารองค์การและองค์การที่มีคะแนนการประเมินองค์การในระดับดีขึ้นไป ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และนำสู่การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลสู่สังคมสูงวัยประกอบด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์การ ได้แก่ปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหาร ทรัพยากร การเรียนรู้ขององค์การ และการสื่อสารถ่ายทอดการทำงานด้านผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล และ ปัจจัยที่เกี่ยวกับสมรรถนะ ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม ทัศนคติ ทักษะการทำงาน และองค์ความรู้ด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนั้น จากผลการศึกษายังพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์ขององค์การให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นคือ ปัจจัยด้านความร่วมมือที่เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินการด้านผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะด้านการลดข้อจำกัดของทรัพยากรด้านต่างๆในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินการด้านผู้สูงอายุ

References

André Grow; Andreas Flache.(2011). How attitude certainty tempers the effects of faultlines in demographically diverse teams; Computational and mathematical organization theor. Springer Science and Business Media. 17( 2), 196-224.

Bureau of Forecast Statistics National Statistical Office (2017). Population statistics. Retrieved on April, 25 2021 Form http://www.nso.go.th.

Carew, P. and Guthrie, L. (2009) . Creating a Motivating Work Environment. Retrieved April 25, 2020 from http://www. kenblanchard. Com.

Chindalak Wattanasin. (1987). “Organizational Administration and Development” . Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Department of Local Administrative Promotion. (2009). Legal regulations. Retrieved on April 12, 2018 from http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?ebookGroup=2.

Edgar H. Schein.(2010). Organizational Culture and Leadership. USA: Wiley, 2010

Kelly, B. (2010). Older and Wiser. U.S. News & World Report. 147 (2), 4.

New Internationalist. (2010). Ageing – 7 myths. New York: Holt Rinehart and Wiston.

Peter, F. D. & Joseph, A. M. (2006). The Effective Executive in Action, New York: HarperCollins

Phatchayapha Kongkhon and Thanattha Rojanatrakul.(2019). Welfare management of the elderly in Pa Daeng Subdistrict Municipality Chat Trakan District Phitsanulok Province. Journal of MCU Buddhapanya Review. 6(3), 112-121.

Protheroe J, Blakeman T, Bower P, Chew-Graham C, Kennedy A. An intervention to promote patient participation and self-management in long term conditions: development and feasibility testing. BMC Health Serv Res. 14(10), 206.

Sakun Changmai. (2010). “Stable life of the elderly in the age group of 60-69 years of Thai society”. A collection of papers presenting research results at the National Conference on Aging and Aging: Happy Aging Society with Healthy Lifestyle and Environment. February 9-12, 2010, organized by the Thai Red Cross Society in collaboration with Chulalongkorn University and the Faculty of Medicine. Chulalongkorn University.

Scott B. Parry. (1998). Evaluation the impact of Training Alexandria. VA : American Society for training and Development.

Tadas Sudnickas, Aistė Kratavičiūtė-Ališauskienė.(2011). Analysis of Applying Competency Models:Case of the Office of the Prime Minister of Lithuania VIEŠOJI POLITIKA IR ADMINISTRAVIMAS PUBLIC POLICY AND ADMINISTRATION 2011, T.10(4), 522–533.

Tait, A., & Blinco, K. (2014). Seeding a learning organisation. The Australian Library Journal, 63(2), 94-107.

Thai Gerontology Research and Development Institute and the Office of the Health Promotion Foundation. (n.d.) Report on the situation of the elderly in Thailand. Retrieved on April 1, 2018 from https://thaitgri.org/.

Thomas Schumacher & Martin Scherzinger (2016): Systemic in-house consulting: an answer to building change capacities in complex organizations, Journal of Change Management,

Wasan Athitsub.(n.d.) “The Learning Organization”. Retrieved April 12, 2018, from https://sites.google.com/site/winaik103263-611xngkhkr-haeng-kar-reiyn-ru-lo .

Wimon Chatameena, Wachira Warasrai and Rungthip Jindapol.(2008). Factors of success in project management and implementation of Phrae Provincial PAO and Phitsanulok PAO Research Report No. RDG5040021., Fund Office research support

Zaremba, A. J. (2003). Organizational communication: Foundations for business & management. Mason, OH: Thomson South-Western.

Pascal Paillé & Yang Chen & Olivier Boiral & Jiafei Jin. ( 2014). "The Impact of Human Resource Management on Environmental Performance: An Employee-Level Study," Journal of Business Ethics, Springer, 121(3), 451-466.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย