การเผยแผ่ธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียงในสภาวการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พระครูสุธีปริยัติโกศล (มนัส กิตฺติสาโร) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • กำธร เพียเอีย
  • อำนาจ ศรีบรรเทา
  • สายฝน ศรีสุธา

คำสำคัญ:

การเผยแผ่ธรรม, วิทยุกระจายเสียง, เชื้อไวรัสโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเผยแผ่ธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียงในสภาวการณ์เชื้อไวรัสโควิด 19 และ 2) เสนอแนะแนวทางการเผยแผ่ธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียงในสภาวการณ์เชื้อไวรัสโควิด 19 ดำเนินการโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 รูป/คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ พระสงฆ์และฆราวาสที่เผยแผ่ธรรม และผู้ฟังธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วย 1) พระสงฆ์และฆราวาสผู้เป็นนักเผยแผ่ธรรมะผ่าน จำนวน 4 รูป/คน และ 2) พระสงฆ์และฆราวาสผู้ฟังธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียง จำนวน 12 รูป/คน แล้วนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า

การเผยแผ่ธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียงในสภาวการณ์เชื้อไวรัสโควิด 19 แบ่งเป็นรายด้านได้ดังนี้ 1) ด้านสภาพทั่วไปของปัญหา (1) ทางสังคม การดำเนินชีวิตมีความระมัดระวัง ด้วยความกลัว และวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจหลายด้านได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง (3) ด้านการเมือง ทางภาครัฐแก้ปัญหาล้มเหลวหลายๆด้าน ทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน ต้องการให้รัฐแก้ปัญหาและช่วยเหลือ 2) ด้านการดำเนินงานเผยแผ่ธรรมะในสภาวการณ์เชื้อไวรัสโควิด19 (1) วิธีการเผยแผ่ธรรมะ เป็นการการการเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรมทางวิทยุกระจายเสียง (2) ได้รับงบประมาณการเผยแผ่ธรรมะจากการบริจาคของผู้มีศรัทธาทั่วไป (3) ลดเวลาการเผยแผ่ลง (4) งดกิจกรรมการที่เป็นการรวมกลุ่มของคนจำนวนมาก 3) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการเผยแผ่ธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ (1) ทุนและงบประมาณส่งเสริมสนับสนุนการเผยแผ่ธรรมะ ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา (2) ด้านบุคลากรการเผยแผ่ธรรมะผ่านวิทยุกระจายเสียง มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรน้อยมาก 4) สื่อการเผยแผ่ธรรมะ ในสภาวการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ใช้สื่อวิทยุ มีความสะดวก อยู่ที่บ้านสามารถฟังได้ ข้อเสียคือไม่เห็นภาพ ไม่ได้ไปทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา 5) การป้องกันลดความเสี่ยงและความปลอดภัยต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำจากกรมควบคุมโรคและศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทความวิจัยนี้ เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเผยแผ่ธรรมผ่านวิทยุกระจายเสียงในขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กำลังระบาดและรุกรามไปทั่วทุกแห่งของประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ธรรมะคำสอนและการดำรงชีวิตให้ปลอดภัยของนักเผยแผ่และผู้ฟังธรรมะ และเพื่อไม่ให้การทำงานด้านเผยแผ่ธรรมะไม่ให้หยุดชะงักลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19.วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6 (3), 166.

กาญจนา ปัญญาธร กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และ วรรธนี ครองยุติ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 32 (1), 190.

จงลักษณ์ เผือกผิววงศ์ ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และ พูนสุข มาศรังสรรค์. (2562). การประยุกต์ใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวัน:ศึกษากรณีผู้ปฏิบัติธรรมวัดคู้บอน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6 (ฉบับพิเศษ), 152.

พระครูบวรกิจคุณาธาร (อนันต์ วรปญฺโญ ). (2560). การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโสภณธรรมพิทักษ์ (วิรัตน์ วิรตโน). (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียงของวัดธรรมรังสี อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทินวัฒน์ สุขสง. (2559). แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์,12 (3),10-11.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร หน้า 17-44 สืบค้น 28 ตุลาคม 2564 จาก http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_20.htm.

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท และ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (2562).การพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามแนวทางของพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (4), 970.

พระพิภพ แพงท้าว และสุพจน์ ทรายแก้ว. (2563). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดนนทบุรี ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7 (4),49.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาริษา อนันทราวัน และโชติ บดีรัฐ. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 153.

เมธี เชษฐ์วิสุต (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา.10 (2), 521.

อภิวดี อินทเจริญ คันธมาทน์ กาญจนภูมิ กัลยา ตันสกุล และ สุวรรณา ปัตตะพัฒน์ (2564).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน,3 (2), 29.

อุมา ประเสริฐศรี ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม และลำพอง กลมกูล (2565). ผลการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 7 (1),185.

Gulick, L. (1937). Notes on the Theory of Organization. In Gulick, L., & Urwick, L.F. (eds). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of/Public Administration, Columbia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย