พระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลาง : คติการสร้าง ความเชื่อ พิธีกรรม และแรงจูงใจ

ผู้แต่ง

  • จริยา สุพรรณ
  • ธันวพร เสรีชัยกุล, และ รัตนพล ชื่นค้า คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลาง; คติการสร้าง; ความเชื่อ; พิธีกรรม; แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติการสร้างและวิเคราะห์ความเชื่อ พิธีกรรม แรงจูงใจในการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้ทฤษฎีเรื่องเล่า ความเชื่อและพิธีกรรม เป็นกรอบการวิจัย โดยศึกษาพระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลาง 8 แห่งในพื้นที่วัฒนธรรม    ภาคกลาง 6 จังหวัด กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์และผู้อาวุโสท้องถิ่น 16 คน คัดเลือกแบบเจาะจงและประชาชน 726 คน คัดเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกคติการสร้างและแบบสอบถามความเชื่อ พิธีกรรม และแรงจูงใจในการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลางวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบการสร้างพระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลางเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจำลองพระธาตุประจำปีเกิดในภาคกลางทั้ง 12 ปีนักษัตร 2) การจำลองพระธาตุประจำปีเกิดในภาคกลางเพียงปีนักษัตรเดียว จำแนกคติการสร้างเป็น 7 ประการ ได้แก่ 1) อำนวยความสะดวกให้พุทธศาสนิกชน 2) ถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสครบ 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ 3) เป็นศูนย์กลางความเชื่อของคนในชุมชน 4) เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5) กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ระลึกถึงถิ่นกำเนิด 6) เฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 7) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ประชาชนมีความเชื่อในการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลาง มากที่สุด คือ เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเคยปฏิบัติพิธีกรรมการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดจำลองในภาคกลาง มากที่สุด คือ บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ส่วนแรงจูงใจที่พบในการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดจำลอง มากที่สุด คือ เชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุประจำปีเกิดจำลอง  

References

Aksorndit, T. (2002). Lanna : Universe, Identity, Power. Project of Study Areas in 5 Regions, Sirindhorn Anthropology Center Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization).

Champawan, S. (2015). The Relic-Enshrining Pagoda in Lanna: Conservation and Tourism in the Globalized Society. Journal of Fine Arts, 6(2), 106-137.

Hongsuwan, P. (2005). The Buddha Relics Myths of the Tai Peoples: Significance and Interaction etween Buddhism and Indigenous Beliefs. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Janta, R. (2016). The Legend of the Annual Relic born Lanna Includes Folk Literature Articles: Heritage National Cultural Wisdom. Bangkok: Office of Printing Works Veterans Relief Organization.

Phrakrorawit Thammawaro (Inthep). (2012). A Study of the People Beliefs to Phradhatchaehaeng Pagoda in Nan Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidvalaya University. Bangkok.

Phrakhru Chantakanchansiri. (2017). Abbot of Thap Sila Temple, Kanchanaburi Province. Interview. June, 12.

Phrakhru Kittikanchanatham (Buasing). (2017). Abbot of Huai Charoen Sattharam Temple, Kanchanaburi Province. Interview. June, 11.

Phrakhru Komutsuwannaporn (Kanphakdi). (2018). Abbot of Bor Kru Temple, Suphanburi Province. Interview. April, 1.

Phrakhrupalad Wanlop. (2018). Deputy Abbot of Saman Rattanaram Temple, Chachoengsao Province. Interview. May, 10.

Phrakhru Wichitsilapol (Pranee Supaphato). (2018). Abbot of Wat Pa Siriwattanavisuth, Nakhon Sawan Province. Interview. April, 29.

Phrakrusamu Worravit Phasuko (Dutsadeepreuttipan). (2011). The Belief and the Method of Practice Concerning the Relics for the Year of Birth for the Buddhists in Prae Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.

Phra Kuttcha. (2017). Monk of Wangwiwekaram, Temple Kanchanaburi Province. Interview. April, 10.

Phrathepprasitmon (Kosol Mahawior). (2018). President of the Makha Bucha Memorial Park, Nakhon Nayok Province. Interview. March, 1.

Phraratudommongkol. (n.d.). Uttma. Bangkok: Vathanagul Group co.,LTD.

Saising, S. (2017). Chedi in Thailand Forms Development and Power of Faith. Nonthaburi: Ancient City.

Saiyut, J. (2018). Head Office of Tha Ka Rong Temple, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Interview. April, 6.

Supun, J., Sereechaikul., T., and Chuenka, R. (2020). The Replicated Buddha’s Relics of the Thai Zodiac Years in Central Thailand towards Religious Tourism. Buddhana Journal, 7(2), 222-237.

Thai Cultural Encyclopedia Foundation. (1999). Thai Cultural Encyclopedia, Central Region. Bangkok: Thai Cultural Encyclopedia Foundation, Siam Commerical Bank.

Wanliphodom , S. (3n.d. ed.). (2003). Meaning of Buddha's Relics in Siam Civilization. Bangkok: Ancient City.

Wayuchot, P. (2016). An Analytical Study of Beliefs and Rituals in Worshipping the Buddha’s Relics of Buddhists in Lanna. Kasalongkham Research Journal, 10(2), 109-119.

Youngrod, W., and Ongwuth, T. (2004). Worship of Phra That Chedi by Birth Year. Bangkok : Amarin Printing and Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย