การนำนโยบายพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาไปปฏิบัติ ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ไชยยุทธ์ อินบัว -

คำสำคัญ:

นโยบาย,พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา,การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการนำนโยบายพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการนำนโยบายพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาไปปฏิบัติ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาไปปฏิบัติ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อให้สะท้อนภาพของรายละเอียดของประเด็นที่ต้องการทำการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 34 คน โดยจัดเป็นกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้กำหนดนโยบายหรือผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในระดับสูง จำนวน 7 คน 2) ผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในระดับล่าง จำนวน 12 คน และ 3) สมาชิกในชุมชนกลุ่มเป้าหมายของนโยบายจำนวน 15 คน และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก มาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากนั้นนำมาเชื่อมโยงโดยการใช้หลักเหตุผลและหลักวิชาการ นำมาเรียบเรียงข้อมูลเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) การนำนโยบายไปปฏิบัติในเขตจังหวัดปัตตานี แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับจังหวัด และการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับโรงเรียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ การกำหนดผู้รับผิดชอบ, มีการสร้างการยอมรับในนโยบาย, การสื่อสารภายในองค์กร, การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับนโยบาย ผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ดังนี้ ก)ลดความเหลื่อมล้ำภายในชั้นเรียน ข) ลดความเหลื่อมล้ำด้านการใช้หนังสือตำรา ค) ผลการสอบของนักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น และ ง) ลดการออกกลางคันของนักเรียนและมีนักเรียนเพิ่มขึ้น 2)ปัญหาอุปสรรค มี 2 ประการ คือ ก) ปัญหาด้านภายในองค์กร ประกอบด้วย ด้านผู้บริหาร, ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา และครูผู้สอน ข)ปัญหาภายนอกองค์กร ประกอบด้วย โครงสร้างการบริหารงาน,ด้านงบประมาณ,ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ,ด้านการสื่อสาร,ด้านการมีส่วนร่วม 3)แนวทางการพัฒนา มีดังนี้ ก.ด้านการบริหารวิชาการ 1.การปรับปรุงหลักสูตรและการจัดทำหลักสูตรใหม่ 2.การจัดซื้อสื่อการเรียนการสอน 3.การลดภาระงานของครู ข.ด้านการบริหารงานบุคคล 1.การสรรหาการบรรจุครู 2.การจัดให้มีครูสายสนับสนุนวิชาการ 3.การส่งเสริมและการพัฒนาครู ค.การบริหารงบประมาณ ง.การบริหารงานทั่วไป 1.การจัดทำแผนพัฒนา 2.ด้านการบริหารจัดการ 3.ด้านความร่วมมือของชุมชน

References

Chongrak Palasai. (2009). Development of a quality Higher Education system in the Three Southern Border

Provinces of Thailand : utilizing Princess of Naradhiwas University’s Development Strategies.

Princess of Naradhiwas University Journal, 1(1), 1 – 20.

Jumphon Nimphanit. (2011). Policy Implementation : Political Science Public Administration Perspectives

and Thai Case Studies. Bangkok : Active Print Company Limited.

Ong-on Prajankett. (2014). An educational innovative organization: A new choice of educational

administration. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(1), 45-51.

Pitak Sotthayakom. (2019). education sandbox in southern border provinces educational service area. Pathum

Thani : Ideanaline Media Solution Company Limited.

Ratchaya Rattanathawon. (2015). The Policy Implementation Model of Health Promotion in Basic

Education Institutions. EAU Heritage Journal Social Science and Humanity, 5(3), 280-293.

Sathita Dangphirom. (2019). Educational administration By using new innovations In the 21st century

school, GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019 (pp.170-178). Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University.

United Nations Development Programme. Educational inequality Thailand. Retrieved April 8,2021, from

https://isoc5.net/articles/view/112/

Woods, K. A., & O’Loughlin. (1998). Leadership Factors that Influence Educational Excellence, Dissertation Abstracts International, 59(3), 668.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย