รูปแบบการเสริมพลังความสัมพันธ์ของวัดและประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ของอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูวิบูลกาญจโนภาส (สมบัติ บุญเสมารัตน์) มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การเสริมพลังความสัมพันธ์, วัดและประชาชน, การจัดการขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของวัดและประชาชนในรูปแบบการเสริมพลังความสัมพันธ์ของวัดและประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย  2) ศึกษาระดับจิตสำนึกสาธารณะของวัดและประชาชนในรูปแบบการเสริมพลังความสัมพันธ์ของวัดและประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย 3) นำเสนอรูปแบบการเสริมพลังความสัมพันธ์ของวัดและประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มประชากรตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

          การมีส่วนร่วม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.95) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ( = 4.20) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ( = 4.04) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 3.85) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 3.72)  จิตสำนึกสาธารณะ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.05) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านประชาชนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ( = 4.23) ด้านความเสียสละในการทำกิจกรรม ( = 4.19) ด้านความเป็นสากล ( = 4.04) ด้านการให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วม ( = 4.01) ด้านการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้โดยทั่วกัน ( = 3.93) ด้านการทำงานเพื่อส่วนรวม ( = 3.88) การจัดการขยะมูลฝอยที่ดี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.80) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ( = 4.04) หลักการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ( = 3.82) หลักการรับผิดชอบของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ( = 3.53)

References

Mayo, K. (1996). Social responsibility in nursing education. Journal of Holistic Nursign. Abstract from CINAHL : 1996010969.

Waste and Hazardous Substances Management Division. (2020). Situation Report of Municipal Solid Waste Disposal Sites in Thailand, Year 2019. Bangkok: Pollution Control Department.

Nichapa Kaewpradap. (2010). The role of mass media in building public consciousness : a case study of Ruam Duay Chuay Chuay Radio Station, FM 96.0 MHz. Research Report. Bangkok : Dhurakij Pundit University. Information Center and Library.

Prapaporn Kaewsuksai. (2006). A study to find guidelines for waste management of Srinakharinwirot University, Ongkharak University. Master of Science degree thesis. Department of Environmental Science. Srinakharinwirot University.

Phramaha Prakasit Thitipasitthikorn, et.al. Bowon Power: An Integrated of Community Development Mechanism in Nakhon Pathom Province., Psychology and Education Vol. 58 No. 1 (2021), ISSN : 1553-6939.

Phramaha Prakasit Thitipasitthikorn, et.al. Conscious Building the Good Citizenship in Community development and Urbanized Buddhist Community in Nakhon Pathom Province., Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences Vol. 3 No. 1 (January – April 2020), ISSN : 2697-6471.

Peeraya Watcharothai. (2013). Waste Management of Local Administrative Organizations: A Case Study of Mueang Klaeng Subdistrict Municipality. Rayong Province Master's thesis. National Institute of Development Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย