การบริหารจัดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • พระครูสาครคุณาภรณ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ; , การท่องเที่ยว; , ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวคิดเกี่ยวกับทางการบริหารจัดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการท่องเที่ยว อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานแลสาธารณูปโภค มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.08) รองลงมา ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยน ( = 3.99) และ ด้านการตลาดการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ย ( = 3.97) ในขณะที่ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสบายและบริการด้านการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( =  3.95) 2) การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การวางแผนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.07) รองลงมา คือการประเมินการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ( =4.04) และการปรับปรุงการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ( =4.04) ในขณะที่การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( =  3.98)

References

Saenglimsuwan, K. and Saenglimsuwan, S. (2012). Sustainable cultural heritage tourism. Executive Journal 32(4). Pages 139-146.

Chuaybamrung, C. (2011). The role of local administrative organizations in sustainable tourism development. Case study: Khao Kob Subdistrict Administrative Organization. Huai Yot District, Trang Province. Master's degree thesis. Khon Kaen University

Phunphatrachewin, T. (2010). Criticism about organizations of excellence. (Thomas J. Peter & Robert H. Waterman Jr. “In Search of Excellent”). Post. 5. 37

Wasi, P. (1997). Organizational development. (4th edition). Bangkok: Village Doctor.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2009). Annual report 2009. Bangkok: National Economic and Social Development Board.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย