การพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบของชุมชนวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูปฐมธีรวัฒน์ (ฐิตธมฺโม) มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ต้นแบบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยการรักษาศีล 5 ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ชุมชนวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ชุมชนวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านร่างกาย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 2) ปัจจัยการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการฆ่าสัตว์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือเว้นจากการดื่มสุรา 3) การพัฒนาการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกำกับดูแล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ด้านการอำนวยการ ด้านการจัดองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการวางแผน

References

Office of the National Economic and Social Development Board. (2007). National Economic and Social Development Plan No. 10. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Phra Maha Phongsak Rattanayano. (2019). Management of the Village Project Keeping the 5 Precepts of the Sangha, Bang Pla Ma District. Suphanburi Province. Thesis for the Master of Buddhist Studies degree. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

PhraMahapanya Chaiyapanyo. (1999). Kamesu micchacara and ethical problems in contemporary Thai society. Master of Buddhist Studies Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Sommat Phuengpuang. (2016). Improving the quality of life of the people of the village keeping the 5 precepts, Nong Khae District, Saraburi Province. Thesis for the Master of Buddhist Studies degree. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sonthaya Ponsri Sonthaya Ponsri. (2007). Learning networks in community development work. Bangkok: Odeon Store.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย