การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีม

ผู้แต่ง

  • นรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา (2) ศึกษาสภาพการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ   ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลหัวทะเล เทศบาลตำบลจอหอ เทศบาลตำบลโชคชัย เทศบาลตำบลสูงเนิน และเทศบาลตำบลปักธงชัยจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุปความแบบพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่  การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มาใช้ค่อนข้างยาก ประชาชนผู้สูงอายุบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ มีความซ้ำซ้อนของอำนาจและหน้าที่กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของราชการ (2) สภาพการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ  นโยบายภาครัฐ  กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง งบประมาณและทรัพยากร ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ และการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ  และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่  ควรมีการทบทวนและเพิ่มเติมนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ สร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม เสริมสร้างบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ  และสร้างการรับรู้แก่ภาคประชาชน

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม “คนชรา” 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2564, จาก https://www.dmh.go.th.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เจ. เอส. การพิมพ์.

ชัยวัฒน์ เอี่ยมประภาศ. (2561). ผลสัมฤทธิ์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุของเทศบาลในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารราชนครินทร์, กรกฏาคม-ธันวาคม 2561, 39-51.

ธัญวรัตน์ แจ่มใส. (2564). นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 1-16.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). การบริหารงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น: บทสํารวจวรรณกรรม. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ “วารสารสหศาสตร์”, 21(2), 254-266.

บังอร ธรรมศิริ. (2556). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการเวกฉบับนิทรรศการวันเจ้าฟ้า วิชาการ. คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ประภาศรี อึ่งกุล และบัญฑิต ไวว่อง. (2563). การบริหารจัดการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ประสาน บุญโสภาคย์ และคณะ. (2564). กฎหมายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ

และสวัสดิการของผู้สูงอายุไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 21(1), 123-141.

ปราโมทย์ ประสาทกุล และคณะ. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนันญา ภู่แก้ว. (2560). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcynid=1536.

วชัชชษา บุญเนียมแตง และจิดาภา ถิรศิริกุล. (2560). การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในสาธารณรัฐ เกาหลี: กรณีศูนย์ผู้สูงอายุในเขตมหานครโซล. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). รายงานการวิจัยโครงการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมาภรณ์ แม่นมาตย์ และลำปาง แม่นมาตย์. (2564). สภาพปัจจุบันของการจัดการสารสนเทศผู้สูงอายุในประเทศไทย. Information - อินฟอร์เมชั่น, 28(1), 153-174.

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2561:). การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 21-36.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ. (2553). กรอบทิศทางการ จัดสวัสดิการทางสังคมอย่างยั่งยืน ในช่วง แผนฯ 11. สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม: ม.ป.พ.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2563. นครราชสีมา: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา.

Sharma, R. C. (2005). Population Trends, Recourses and Environment. New Delhi: Dhanpat Rai.

Titmuss, R. (2004). Social Policy : An Introduction. London: Allen and Unwin.

UNESCO. (1981). Quality of life. An Orientation of Population Education. Bangkok: UNESCO.

The WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): Position Paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine, 41(October), 1403-1409.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย