การฟื้นพลังของบุคคลทุพพลภาพหลังจากประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรง และสูญเสียอวัยวะ

ผู้แต่ง

  • ชฎาวรรณ ชัยน่าน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เสรี ใหม่จันทร์

คำสำคัญ:

กระบวนการฟื้นพลัง; บุคคลทุพลภาพ; การสูญเสียอวัยวะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นพลังของบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรงและสูญเสียอวัยวะจนกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรงและสูญเสียอวัยวะจนกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพประเภทที่ 3 ความพิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งได้รับบาดเจ็บเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี 5 เดือน จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาตามระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษาร่วมกับประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นพลัง และตรวจสอบข้อมูลโดยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้ง 4 ท่านเผยให้เห็นข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับกระบวนการฟื้นพลังหลังการประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรงและสูญเสียอวัยวะจนกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ แบ่งออกเป็นสามประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่หนึ่ง ความทุกข์ทรมานหลังจากการประสบภาวะวิกฤติ คือ เรื่องราวเบื้องหลังรวมถึงเหตุการณ์ในการเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤติของผู้ให้ข้อมูลหลัก ประเด็นหลักที่สอง การยอมรับ คือ การบุคคลเกิดความเข้าใจต่อภาวะวิกฤติที่เผชิญอยู่และตกตะกอนความคิดจนกระทั่งเกิดการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ประกอบด้วยสองประเด็นรอง คือ 1) กระบวนการฟื้นพลังตามปัจจัยเชิงสาเหตุ 2) ปัจจัยเชิงป้องกันกับความแตกต่างระหว่างบุคคลและสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม และประเด็นหลักที่สาม มุมมองใหม่และการเติบโตเชิงบวกหลังได้รับความทุพลภาพ คือ การเปลี่ยนแปลงต่อมุมมองและลักษณะนิสัยบางประการในตัวของบุคคล และประกอบด้วยหนึ่งประเด็นรอง คือ 1) กระบวนการฟื้นพลังและการปรับตัวหลังจากได้รับความทุพพลภาพ

คำสำคัญ : กระบวนการฟื้นพลัง; บุคคลทุพลภาพ; การสูญเสียอวัยวะ

References

Elliott,T., & Kurylo, M. (2000). Hope over disability: Lessons from one young woman’s triumph. In C. R. Snyder (Ed.), The Handbook of Hope : Theory, measures, and applications (pp. 373-386). New York: Academic Press.

Kelman, Herbert C. (1967). Attitude change in compliance, identification and internalization: Three process of attitude change. New York, NY: John Wiley & Sons.

Kuber-Ross, E. and Kesster, D., 2007, On grief and grieving, Scribner Book Company, New York.

Luthans, F., Avey. J. B., Avolio, B. J., & Norman, S. M. (2007). Positive Psychological Capital: Measurement and relationship with Performance and satisfaction. Personnel Psychology, 541-572.

Martin Seligman. (2000). “Positive Psychology : An Introduction”. American Psychologist. 55(1) 5-14.

Patterson, J. M. (2004). Integrating family resilience and family stress theory. Journal of marriage and family, 64(2), 349-360.

Rogers, R. (1974). In Retrospect : Forty Six Years. American Psychologist, 29:115-123.

Rutter M (1987) . Psychosocial Resilience and Protective Mechanisms. Am J Orthopsychiatry 57: 316-331.

Snyder, C. R. (2002). Hope Theory: Rainbows in the mind. Psychological Inquiry, 13, 249275.

Woodgate RL (1999) . Conceptual Understanding of Resilience in the Adolescent with Cancer : part l. J Pediatr Oncol Nurs 16: 35-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย