แนวทางจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครู เพื่อพัฒนาแนวคิดและพลังสมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • สุปราณี พิศมัย 0959644791

คำสำคัญ:

แนวทางจัดการเรียนรู้, แนวคิดฟิสิกส์, พลังสมรรถนะแห่งตน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครูที่ส่งเสริมแนวคิดและพลังสมรรถนะแห่งตน 2)เพื่อพัฒนาแนวคิดของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนาพลังสมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 1 สถาบันการผลิตครูแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ในการพัฒนาวิชาชีพครูใช้ 3 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีการศึกษาหัวข้อหลักสูตร 2) กลวิธีเนื้อหารายวิชา และ 3)กลวิธีการสืบสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสะท้อนการเรียนรู้และการปฏิบัติของนักศึกษา  แบบบันทึกหลังสอน แบบวัดแนวคิดวิชาฟิสิกส์สำหรับครู  แบบสอบถามพลังสมรรถนะแห่งตน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับวัดพลังสมรรถนะแห่งตน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าสถิติ t-test

     ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครูที่ส่งเสริมแนวคิดและพลังสมรรถนะแห่งตนเรื่องความร้อนและแสง ผู้สอนออกแบบกิจกรรมให้มีการศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานศึกษา แนวคิดที่คลาดเคลื่อน ใช้สถานการณ์ตรวจสอบความรู้เดิม เน้นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ ตรง เปิดโอกาสระดมความคิดและอภิปรายผล เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม  และการใช้คำพูดเสริมแรงทางบวก 2) นักศึกษามีแนวคิดที่สมบูรณ์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ 3) พลังสมรรถนะแห่งตนหลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญ 0.05

References

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2546).คนรุ่นใหม่มั่นใจเกินร้อย. นิตยสารHi!. 5(มกราคม) :
251-253,
Appleton, K., & Kindt, I. (2002). Beginning elementary teachers’
development as teachers of science. Journal of Science
Teacher Education, 13, 43–61
Bandura, 1986. Social Foundations of Thought and Action: A Social
cognitiveTheory. Prentice Hall, Englewood Cliffs, NJ.
Bandura, 1977. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral
change.Psychological Review 84, 191-215
Deepika Menon and Troy D. Sadler (2016) Preservice Elementary
Teachers’Science Self-Efficacy Beliefs and Science Content
Knowledge Journal of Science Teacher Education 27: 649–673
Deboer G.E. (2006) Historical Perspectives On Inquiry Teaching In
Schools. In: Flick L.B., Lederman N.G. (eds) Scientific Inquiry
and Nature of Science. Science & Technology Education
Library, vol 25. pp 17-35.
Hake, R.R. (2015). What might psychologists learn from Scholarship
of Teaching and Learning in physics? Scholarship of
Teaching and Learning in Psychology, 1(1), 100-106.
Haidar, A.H. (1997). Prospective chemistry teachers’ conception of the
conservation of matter and related concepts. Journal of
Research in Science Teaching, 34(2), 181-197.
Kazempour, M., & Sadler, T. D. (2015). Pre-service teahers’ beliefs,
attitudes, and self- efficacy: A multi-case study. Teaching
Education, 26, 247–271.
Kyle Gray (2017) Assessing Gains in Science Teaching Self-Efficacy After
Completing an Inquiry-Based Earth Science Course, Journal of
Geoscience Education, 65:1, 60-71.
Loucks-Horsley, S., Hewson, P. W., Love, N., & Stiles, K. E. (1998).
Designing professional development for teachers of
science and mathematics. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Murphy, C., & Smith, G. (2012). The impact of a curriculum course on
pre-service primary teachers' science content knowledge and
attitudes towards teaching science. Irish Educational Studies,
31, 1, 77-95.
Rice, D. C., & Roychoudhury, A. (2003). Preparing more confident Pre-
service elementary science teacher:One elementary science
methods teacher’s self study. Journal of Science Teacher
Education, 14, 97-126.
Tekkaya, C., Cakiroglu, J. & Ozkan, O. (2004). Turkish Pre-service
Science Teachers' Understanding of Science and their Confidence
in Teaching it. Journal of Education for Teaching, 30, 1, 57-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย