บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมกีฬามวยไชยา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เสรี ทองแช่ม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การส่งเสริมกีฬามวยไชยาเพื่อการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมกีฬามวยไชยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมกีฬามวยไชยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ3)เสนอแนะแนวทางบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการส่งเสริมกีฬามวยไชยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน แล้วพรรณาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบมีเหตุผลอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

1)การส่งเสริมกีฬามวยไชยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ จากบทบาทองค์กรปกครองส่วนที่สามารถสามารถดึงความได้เปรียบการเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านศิลปะการต่อสู้มวยไชยากลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมนำไปสู่การบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน มาพัฒนาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มเป็นแหล่งสร้างรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น 2)ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมบทบาทการพัฒนาการท่องเที่ยว มีข้อค้นพบดังนี้ (1)การมีจิตสำนึกของประชาชนในฐานะเจ้าบ้านและจิตสำนึกของนักท่องเที่ยว (2)การประสานงานและความร่วมมือ (3)การสนับสนุนของภาครัฐในท้องถิ่น (4)การมีส่วนร่วมของประชาชน และ(5)ภาวะผู้นำชุมชน และ3)แนวทางการพัฒนาการค้นหาโอกาสทางเลือกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการบูรณาการร่วมกันจะสามารถบริหารจัดการการส่งเสริมกีฬามวยไชยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เติบโตสู่ความยั่งยืนต่อไป

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (ฉบับที่ 5). (พ.ศ. 2560-2565) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.
เจนจีรา อักษรพิมพ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3): หน้า141-154.
จิตรา ปั้นรูปและคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(3): หน้า 438 - 457.
ชิตวร ลีละผลิน. (2561). ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(2): หน้า 1-12.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25): หน้า 103-118.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : เพรสแอนด์ ดีไซน์.
ปิ่นฤทัย คงทองและสุวารี นามวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2): หน้า 1-32.
ปิรันธ์ ชิณโชติ, & และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 9(1): หน้า 250-267.
พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). การบริหารจัดการการค้าข้างทางตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 7(2): หน้า 230-244.
รัตติยา พรมกัลป์ พระเทพปริยัติ เมธี และนัยนา เกิดวิชัย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1): หน้า 13-28.
ลลิล แซ่ลิ่ม และพลกฤต แสงอาวุธ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายท่องเที่ยววิถีชุมชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา การท่องเที่ยววิถีชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3): หน้า 234-249.
วันทนีย์ ศรีนวล และอัศวิน แสงพิกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ของ นักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1): หน้า 175-194.
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 9(1): หน้า 234 - 259.
สิริกร ประทุม. (2564). การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(2): หน้า 71-87.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2561). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2564 จาก https://suratts.mots.go.th
สัจจา ไกรศรรัตน์ และวรลักษณ์ สุเฌอ. (2560). กระบวนการสร้างตราสินค้าให้กับตลาดชุมชนโบราณลุ่มน้ำสุพรรณบุรีในฐานะของแหล่งท่องเที่ยว. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 19(2): หน้า 35-47.
หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์ และคณะ. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวประมงพื้นบ้านเพื่อสนับสนุนเมืองเก่าสงขลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 8(1): หน้า 32-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย