การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน

ผู้แต่ง

  • ณัฐวินท์ วงศ์ญาพรหม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชูชีพ เบียดนอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ยุคหลังโควิด-19, กระทรวงแรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน กลุ่มบุคลากรของกระทรวงแรงงาน นักวิชาการด้านสาขารัฐประศาสนศาสตร์ รวม 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุปความแบบพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน พบว่า มีการพัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการทำงานในโลกยุคใหม่ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill แต่จะเน้นหนักที่ทักษะดิจิทัล และพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือให้เป็นผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs สร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ (Start-up) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม สร้างแพลตฟอร์มหลักสูตรการพัฒนาทักษะ การพัฒนาระบบการเรียนรู้ เน้นส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้แรงงานไทย  และมีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังแรงงานให้มีทักษะตรงต่อความต้องการของตลาดงานในอนาคต (2) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน พบว่า ลักษณะการทำงานแตกต่างจากในอดีต  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งให้แรงงานต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี และใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ขาดการบูรณาการการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย  และการขาดความรู้ความเข้าใจทางเทคโนโลยีของแรงงานไทย และ (3) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ของกระทรวงแรงงาน พบว่า ควรพัฒนาทักษะและคุณลักษณะของแรงงานไทยให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน  ส่งเสริมการมีงานทำให้กับแรงงานทุกกลุ่ม สร้างหลักประกันทางสังคมและการคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาหลักสูตรและจัดการฝึกอบรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล กำหนดมาตรการเพื่อจูงใจให้สถานประกอบการให้พัฒนาฝีมือแรงงาน และปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรให้เอื้อต่อการพัฒนาแรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

References

กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน. (2565). ทิศทางตลาดแรงงานไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ: กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน.

จารุวรรณ เมืองเจริญ และประสพชัย พสุนนท์. (2562). การสร้างสรรค์นวัตกรรมกระบวนการทำงานที่มีต่อ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 73-88.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). “วิถีชีวิตใหม่และการ ปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19”: การงาน การเรียน และธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น.

พัฒน์รวี วัยวุฒิ. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการ 4.0 : กรณีศึกษา สํานักงานออกแบบ สํานักการโยธากรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

รชา เหลืองบริสุทธิ์.(2564). สํารวจโจทย์ใหม่โลกการทํางานคนเมือง เมื่ออนาคตของงานคืออนาคตของเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/faeA5.

รัตติยา ภูละออ และคณะ. (2565). โครงการวิจัยประเด็นแรงงานในเศรษฐกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

โรงเรียนบางปะอิน ราชานุเคราะห์ 1. (ม.ป.ป.). การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2566, จาก racha1-online.school/courses/i31201-การศึกษาค้นคว้าและสร้าง lesson/การตรวจสอบแหล่งที่มาขอ/

วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 267-282.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในบริบทอนาคตแรงงานไทยในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 285-298.

วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร.(2563). ทักษะแรงงานแบบไหนที่จำเป็นในโลกธุรกิจหลังยุคโควิด-19. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์2566, จาก https://www.prachachat.net/finance/news-477698

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2564). ความปกติใหม่ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจหลังยุคโควิด -19. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 46-59.

สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน. (2566). การบริหารงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่. (2561). ความต้องการแรงงานและการผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่.

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2557). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ... สู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อาภา วรรณฉวี. (2564). การวิจัยเอกสาร (Documentary Research). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566, จาก https://bsru.net/การวิจัยเอกสาร-documentary-research/

อัจฉรา คำสด. (2566). รวมใจสร้างงานพัฒนาอาชีพแห่งอนาคต. e-Magazine MOL, 22(ฉบับเดือนมิถุนายน), 5-7.

BASE Playhouse. (2021). 21st-Century Skill. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://

shorturl.asia/SYL05.

Bcaremedicalcenter. (2020). ป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bcaremedicalcenter.com/Articles-detail/24

Butterworth, J. & Thwaites, G. (2010). Thinking Skill. Cambridgeshire: University Press Cambridge.

Chobpradit, S. (2020) . Covid 19 Crisis Affect Social Change. Journal of Chaiyaphum Review, 3 (2), 1-14.

DPU X Space. (2562). เปิดผลวิจัยด้านทักษะแรงงานในอนาคต ปรับตัวอย่างไรให้รอดผลกระทบ AI. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จากhttps://dpux.dpu.ac.th/prnews/ai.html

Kostić, S. C., & Šarenac, J. G. (2020). “New Normal” Strategic Communication. In Business Management and Communication Perspectives in Industry 4.0 (pp. 71-92). IGI Global.

SEAC. (2020). ทักษะที่จําเป็นในอนาคตเพื่อให้ทํางานร่วมกับหุ่นยนต์ได้. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์2566, จาก https://shorturl.asia/SFImy

Papadopoulos, N., & Oscar, M. (2010). Toward a Model of the Relationship between Internationalization and Export Performance. International Business Review, 19(4), 388-406.

Quinones, M., Ford, J., & Teachout, M. (1995). The Relationship between Work Experience and Job Performance: A Conceptual and Meta-Analytic Review. Personnel Psychology, 48(4), 887-910.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย