การพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานของไวยาวัจกรในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูไพศาลธรรมวงศ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, การปฏิบัติงาน, ไวยาวัจกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะไวยาวัจกร สมรรถนะของไวยาวัจกร และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานของไวยาวัจกรเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ไวยาวัจกรในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 220 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านการปฏิบัติงานของไวยาวัจกร ในภาพรวม มีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอันดับแรก คือ การได้ทรัพย์สินมาเป็นศาสนสมบัติของวัด รองลงมา คือการเก็บรักษาเงินของวัด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์ 2) การพัฒนาสมรถนะด้านการปฏิบัติงานของไวยาวัจกร ในการจัดการทรัพย์สินของพระพุทธศาสนาตามความถูกต้องนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามารับผิดชอบบำรุงรักษา ในการจัดทำทะเบียนทรัพย์สินที่จัดประโยชน์ ทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัยไว้ให้ถูกต้อง โดยวัดจะต้องทำสัญญาเป็นข้อผูกพันกับผู้เช่าอย่างมั่นคง วัดจะต้องออกใบเสร็จรับเงินแสดงการรับทุกครั้ง 3)แนวทางการพัฒนาสมรถนะด้านการปฏิบัติงานของไวยาวัจกร คือ พัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดและการแบ่งประเภททรัพย์สินของวัด การจัดทำทะเบียนทรัพย์สินที่จัดประโยชน์ จัดทำทะเบียนทรัพย์สินรวมถึงหนังสือสัญญาใด ๆ อย่างมั่นคง และพัฒนาความรู้ด้านการเก็บรักษาเงินของวัด การออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบอนุโมทนา

References

Department of Religious Affairs, Ministry of Education. (1999). Temple administration and management manual. Bangkok: Department of Religious Affairs, Ministry of Education.

Sittijinda, P., (2008). Desired characteristics of the president of a subdistrict administrative organization. According to the opinions of the people who have the right to vote in the Sahatsakhan Subdistrict Administrative Organization area Sahatsakhan District Kalasin Province. Master's degree independent study report. Khon Kaen: College of Local Administration, Khon Kaen University.

Sunantho, S., et al. (2017). Integrated Buddhism for the management of religious properties of Buddhist temples. Research report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Kalong, M., (2008). Desired characteristics of the president of Rusamilae Subdistrict Administrative Organization, Mueang District, Pattani Province. Master's degree independent study report. Khon Kaen: College of Local Administration, Khon Kaen University.

Thiraphanmethi, W., and Teerananthankun, T., (2003). Sangha Administrative Manual. Bangkok: Sahathamika.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย